logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • วิธีการเอาชนะเกมเปายิงฉุบตามแบบฉบับนักคณิตศาสตร์

วิธีการเอาชนะเกมเปายิงฉุบตามแบบฉบับนักคณิตศาสตร์

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 10 มกราคม 2561
Hits
2282

            แม้ว่าคำถามเกี่ยวกับวิธีการในการเอาชนะเกมค้อน กระดาษ กรรไกรจะสร้างความรำคาญใจให้กับนักคณิตศาสตร์และนักทฤษฎีเกมบ้างในบางครั้ง แต่คำถามเหล่านั้นก็ยังคงสร้างความน่าสนใจและจุดประกายให้นักคิดพยายามหาคำตอบในเรื่องของกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการเอาชนะฝ่ายตรงข้ามอยู่ดี

เกมค้อน กระดาษ กรรไกร (Rock–paper–scissors)

          หรือที่เรียกแบบไทยๆ ว่าเกมเปายิ้งฉุบ เป็นเกมชนิดหนึ่งที่นิยมเล่นในเด็กและวัยรุ่นทั่วโลก สำหรับวิธีเล่นเกมนั้นจะอาศัยการแสดงสัญลักษณ์ด้วยมือในการเล่นระหว่างผู้เล่นสองฝ่าย ซึ่งการทำท่าทางด้วยมือมี 3 แบบได้แก่ ค้อน (กำมือ) กรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง) และกระดาษ (แบมือ)

7801 1

ภาพที่ 1 การเล่นเกมค้อน กระดาษ กรรไกร
ที่มา Chris Wang/flickr

ตามการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีเกมแบบคลาสสิก (Classical game theory) กลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่ถูกแนะนำในการเล่นเกมเปายิ้งฉุบคือ การเล่นแบบสุ่ม (Random) หมายความว่า ผู้เล่นจะต้องออกค้อน กรรไกร กระดาษโดยไม่ซ้ำกันในแต่ละรอบ เพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถคาดเดาเกมการเล่นและยังช่วยในการหลีกเลี่ยงการโจมตีจากคู่แข่งอีกด้วย ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของสมดุลทางกลยุทธ์ที่เรียกว่าสมดุลของแนช (Nash equilibrium)

ในขณะที่ Zhijian Wang จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ประเทศจีน หนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่พยายามหาคำอธิบายถึงวิธีการที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการชนะเกมเปายิ้งฉุบนั้นพบวิธีการที่แตกต่าง นอกเหนือจากโอกาสในการแพ้ ชนะหรือเสมอจากการเล่นแบบสุ่ม

7801 2

ภาพที่ 2 persistent cyclic flows
ที่มา Open Clipart Vectors/pixabay

สำหรับความพยายามของเขาและทีมงานที่ได้ทำการศึกษาทดลองกับผู้เล่นจริงจำนวน 360 คน โดยการแบ่งกลุ่มของผู้เล่นออกเป็น 12 กลุ่ม และให้ผู้เล่นแต่ละคนเล่นเกมคนละ 300 รอบกับผู้เล่นภายในกลุ่ม โดยมีการให้รางวัลเป็นแรงจูงใจต่อผู้เล่นที่ชนะด้วย จากการทดลองพบว่า ผู้เล่นแต่ละคนมีการเลือกใช้ค้อน กระดาษ และกรรไกรสลับกันไปในการเล่นแบบสุ่มตามการคาดการณ์ไว้ แต่อย่างไรก็ตามจากการสังเกตอย่างใกล้ชิดทำให้ทีมงานพบพฤติกรรมการเล่นที่แตกต่างโดยพบว่า ผู้เล่นที่ชนะมักจะยึดติดกับเกมการชนะของตนเองและทำซ้ำในทางเลือกเดิม ในขณะที่ผู้แพ้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์ในลำดับถัดไป กล่าวคือเป็นกลยุทธ์ในลักษณะของ  "win-stay lose-shift"   ซึ่งจากพฤติกรรมการเล่นเกมข้างต้นเป็นลักษณะการเล่นที่เป็นวงจรแบบหมุนเวียนต่อเนื่องที่เรียกว่า “Persistent cyclic flows”

ในทางปฏิบัติ ผู้เล่น ก และผู้เล่น ข เริ่มต้นการเล่นเกมเปายิ้งฉุบด้วยวิธีการแบบสุ่ม

           หากผู้เล่น ก ออกค้อน ในขณะที่ผู้เล่น ข ออกกรรไกร ในเกมแรกผู้เล่น ข เป็นฝ่ายแพ้  ผู้แพ้สามารถอนุมานได้ว่าผู้ชนะจะยึดติดกับการเล่นเกมแบบเดิมในรอบถัดไป ดังนั้นผู้เล่น ข จึงควรออกกระดาษเพื่อเอาชนะผู้เล่น ก 

7801 4

          ในรอบการเล่นหลังจากนั้น หากว่าผู้เล่น ก แพ้ ผู้เล่น ก ก็สามารถคาดการณ์การใช้กลยุทธ์ในแบบเดียวกันนี้ และเลือกใช้กรรไกรเพื่อพลิกกลับมาเอาชนะผู้เล่น ข ได้อีกครั้ง

7801 5

          ทั้งนี้กลยุทธ์แบบ "win-stay lose-shift" ยังเป็นที่รู้จักในทฤษฎีเกมในแง่ของการตอบสนองตามเงื่อนไขที่เรียกว่า conditional response ซึ่งนักวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่า การตอบสนองดังกล่าวนั้นอาจเป็นกลไกที่หยั่งรากลึกในสมองของมนุษย์ อีกนัยยะหนึ่งคือกลยุทธ์ดังกล่าว เสมือนเป็นจุดตัดระหว่างคณิตศาสตร์และจิตวิทยาในลักษณะของทฤษฎีเกมที่อยู่เบื้องหลังวิธีการที่มนุษย์ตัดสินใจในสถานการณ์การแข่งขัน นั่นจึงเป็นหัวข้อที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการศึกษาค้นคว้าในอนาคต

          นอกจากนี้จากสถิติการเล่นเกมเปายิ้งฉุบจากสมาคมเกมค้อน กระดาษ กรรไกรโลก (World Rock Paper Scissor Society) ยังได้มีการเผยแพร่คำแนะนำที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ดังนี้

  • ผู้ชายมักจะเปิดเกมการเล่นด้วยค้อนเสมอ หากกำลังเล่นเกมนี้กับผู้ชายให้เริ่มต้นเกมด้วยกระดาษ
  • กรรไกร เป็นการเปิดเกมการเล่นที่มีสถิติชนะมากที่สุด
  • สยบฝ่ายตรงข้ามด้วยความจริง ด้วยการประกาศสิ่งที่จะทำและปฏิบัติตาม เนื่องจากไม่มีใครเชื่อว่าผู้เล่นที่ประกาศสิ่งที่ตนกำลังจะเล่นจะทำตามคำพูดเหล่านั้นจริงๆ

           อย่างไรก็ตาม ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข้างต้นอย่างชาญฉลาดและมีสติ กลยุทธ์เหล่านี้อาจช่วยคุณได้ อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการล้างจานหรือการขัดห้องน้ำในเย็นวันอาทิตย์

แหล่งที่มา

Bin X, Hai-Jun Z and Zhijian W. Cycle frequency in standard Rock–Paper–Scissors games: Evidence from experimental economics. Sciencedirect.2013; 392, 4997-5005.

HARRISON JACOBS. (2015, 17 December). How to Beat Anyone at Rock-Paper-Scissors, According to a Mathematician.
            Retrieved November 30, 2017, 
            from https://www.sciencealert.com/how-to-beat-anyone-at-rock-paper-scissors-according-to-a-chinese-mathematician

James Morgan. (2014, 2 May). How to win at rock-paper-scissors.
            Retrieved November 30, 2017, 
            from http://www.bbc.com/news/science-environment-27228416

Theresa Locker. (2015, 4 February). Win at Rock-Paper-Scissors Every Time, With Math.
            Retrieved November 30, 2017, 
            from https://motherboard.vice.com/en_us/article/gvym4x/game-theory-rock-paper-scissors

Elizabeth Knowles. (2015, 24 December). How to Win at Rock-Paper-Scissors, According to Math.
            Retrieved November 30, 2017, 
            from http://thescienceexplorer.com/universe/how-win-rock-paper-scissors-according-math

Zhijian W, Bin X and Hai-Jun Z. (2014, 25 July). Social cycling and conditional responses in the Rock-Paper-Scissors game
            Retrieved November 30, 2017, 
            from https://www.nature.com/articles/srep05830.pdf

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
วิธีการเอาชนะเกมเปายิงฉุบตามแบบฉบับนักคณิตศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 10 มกราคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Big data อภิมหาข้อมูล ไม่ได้ใหญ่ แค่ชื่อ!
Big data อภิมหาข้อมูล ไม่ได้ใหญ่ แค่ชื่อ...
Hits ฮิต (6754)
ให้คะแนน
Big data อภิมหาข้อมูล ไม่ได้ใหญ่ แค่ชื่อ! ในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าในวงการผู้คนแวดวงเทคโนโลยีจะใช้คำว่...
จำนวนเฉพาะแห่งปี 2016 กับการค้นหาไร้ที่สิ้นสุด
จำนวนเฉพาะแห่งปี 2016 กับการค้นหาไร้ที่ส...
Hits ฮิต (7536)
ให้คะแนน
จำนวนเฉพาะแห่งปี 2016 กับการค้นหาไร้ที่สิ้นสุด ก่อนอื่นเลยคิดว่าหลายคนคงทราบกันดีว่า “จำนวนเฉพาะ” ค...
สืบจากการ์ตูนโคนัน Holmes และ CSI (ตอนที่2) การให้เหตุผลแบบ ...
สืบจากการ์ตูนโคนัน Holmes และ CSI (ตอนที...
Hits ฮิต (9537)
ให้คะแนน
สืบจากการ์ตูนโคนัน Holmes และ CSI (ตอนที่2) การให้เหตุผลแบบ Abductive การศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้นส่ว...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.