น่ารู้เรื่องลม
โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันจันทร์, 25 กรกฎาคม 2554
Hits
78254
การเดินลม
อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำให้มีความหนาแน่นน้อยกว่าปกติและลอยตัวสูงขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า กระแสอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเคลื่อนขนานกับแนวราบเข้ามาแทน ที่ อากาศที่เคลื่อนที่ขนานกับพื้นผิวของโลก เรียกว่า 'ลม' ลมจะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าหรือบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่า ไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือบริเวณที่มีความกดอากาสต่ำกว่า
กลางวันอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากดินและน้ำรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ในปริมาณเท่ากันแต่ดินจะมี อุณหภูมิสุงกว่าน้ำ ส่วนกลางคืนอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินจะต่ำกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือ พื้นน้ำ เนื่องจากดินคายความร้อนได้ดีกว่าน้ำ ปรากฏการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการเกิด ลมบก ลมทะเล คือ
ใน เวลากลางวัน อากาศเหนือพื้นดินร้อน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศเหนือพื้นน้ำเย็นกว่า เคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เกิดลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง เรียกว่า ลมทะเล
ใน เวลากลางคืน อากาศเหนือพื้นน้ำร้อน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศเหนือพื้นดินเย็นกว่า เคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เกิดลมพัดจากบกออกสู่ทะเล เรียกว่า ลมบก
อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำให้มีความหนาแน่นน้อยกว่าปกติและลอยตัวสูงขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า กระแสอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเคลื่อนขนานกับแนวราบเข้ามาแทน ที่ อากาศที่เคลื่อนที่ขนานกับพื้นผิวของโลก เรียกว่า 'ลม' ลมจะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าหรือบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่า ไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือบริเวณที่มีความกดอากาสต่ำกว่า
กลางวันอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากดินและน้ำรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ในปริมาณเท่ากันแต่ดินจะมี อุณหภูมิสุงกว่าน้ำ ส่วนกลางคืนอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินจะต่ำกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือ พื้นน้ำ เนื่องจากดินคายความร้อนได้ดีกว่าน้ำ ปรากฏการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการเกิด ลมบก ลมทะเล คือ
ใน เวลากลางวัน อากาศเหนือพื้นดินร้อน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศเหนือพื้นน้ำเย็นกว่า เคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เกิดลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง เรียกว่า ลมทะเล
ใน เวลากลางคืน อากาศเหนือพื้นน้ำร้อน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศเหนือพื้นดินเย็นกว่า เคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เกิดลมพัดจากบกออกสู่ทะเล เรียกว่า ลมบก
จากความรู้เรื่องลมบก ลมทะเลนี้ ชาวประมงได้อาศัยลมดังกล่าวแล่นเรือใบออกทะเลในเวลาต่ำและกลับสู่ฝั่งในตอนเช้า
ลมมรสุม เป็นลมที่พัดประจำฤดู เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆ มีบริเวณกว้างและเป็นลมที่พัดเป็นระยะเวลาแน่นอนตลอดฤดุของทุกปี การเอียงของแกนโลก ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงมาตามตำแหน่งต่างๆ มีปริมาณต่างกัน ซึ่งทำให้อุณหภูมิในบริเวณต่างๆ เปลี่ยนไป และความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย จึงทำให้เกิดลมประจำฤดู
ลมมรสุมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. ลมมรสุมฤดูร้อน เป็นลมพัดจากทะเลเข้าสู่พื้นดิน เกิดขึ้นในฤดูร้อน ลมมรสุมฤดูร้อนนำความชุ่มชื้นหรือฝนจากทะเลมาสู่แผ่นดิน ในทวีปเอเชีย เรียกว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยจะพัดอยู่นาน 6 เดือน คือ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
2. ลมมรสุมฤดูหนาว เป็นลมพัดจากใจกลางทวีปที่มีความกดอากาศสูงไปสู่ทะเลหรือบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำ เป็นลมที่นำความหนาวเย็นและความแห้งแล้ง เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดอยู่นาน 6 เดือน คือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม
เราสามารถสังเกตทิศทางของลมว่าลมพัดมาจากทิศใด โดยอาศัยวิธีทางธรรมชาติ เช่น สังเกตจากควันไฟ ใบไม้ไหว ธงสบัด เป็นต้น แต่อาจใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทางลมได้ไม่แน่นอน ได้มีผู้ประดิษฐ์คิดเครื่องตรวจสอบทิศทางลม เรียกว่า ศรลม ซึ่งใช้สำหรับวัดทิศทางลมในธรรมชาต
การติดตั้งศรลม ควรติดตั้งไว้ในที่สูงๆ เช่น หลังคาบ้าน เป็นต้น ในการวัดถ้าปลายศรชี้ไปทางใด แสดงว่าลมพัดมาจากทางทิศนั้น ถ้าปลายศรอยู่ระหว่างทิศเหนือและทิศตะวันตก แสดงว่าลมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และถ้าศรชี้ระหว่างทิศใต้และทิศตะวันออกแสดงว่าลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียง ใต้
การวัดทิศทางลมบางครั้งวัดเป็นองศา โดยกำหนดไว้ให้ทิศเหนือ (N) เท่ากับ 0 องศา (หรือ 360 องศา) ทิศอื่นๆ จะวัดตามเข็มนาฬิกา โดยทิศตะวันออก (E) จะเป็น 90 องศา, ทิศใต้ (S) 180 องศา และทิศตะวันตก (W) 270 องศา
ปัจจุบันการรายงานทิศทางลมสำหรับเขียนแผนที่อากาศ ใช้รายงานเป็นองศาดังนี้ เช่น ลมที่พัดมาจากทิศตะวันออก จะเรียกว่า ลมตะวันออก หรือ ลม 90 องศา ลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า ลมตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ลม 225 องศา
ลมมีอัตราเร็วต่างกัน ถ้าลมมีอัตราเร็วสูง จะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง ลมที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ถ้ามีอัตราเร็วตั้งแต่ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเริ่มก่อให้เกิดความเสียหาย ถ้าอัตราเร็วลมตั้งแต่ 89 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถทำความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนได้ ถ้าเป้นลมพายุซึ่งมีอัตราเร็วลมมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความรุนแรงและความเสียหายมีสูงมาก
พายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน เรียกว่า พายุฤดูร้อน เป็นการหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและฉับพลัน เกิดฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และอาจมีลูกเห็บตกด้วย ส่วนพายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เรียกว่า พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดเหมือนพายุฤดูร้อนแต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงเท่า
สำหรับพายุบางชนิดเป็นพายุที่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าพายุหมุนทวีกำลังแรงขึ้นจะเป็นพายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น เช่น พายุไต้ฝุ่น "เกย์" ที่พัดผ่านเข้ามาทางจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน2532 เมื่อใดก็ตามที่พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนขึ้นฝั่ง จะทำความเสียหายให้กับตัวเมือง หรือ หมู่บ้านที่พายุไต้ฝุ่นผ่านอย่างมหาศาล จึงควรมีการป้องกันอันตรายจากพายุหมุน พายุฟ้าคะนอง โดยติดตามฟังการพยากรณ์อากาศจากวิทยุ โทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ เตรียมพร้อมก่อนที่พายุจะมา และอยู่แต่ในบ้าน ถ้าอยู่ในทะเลต้องรีบกลับเข้าฝั่งและคอยฟังคำเตือนเกี่ยวกับการเคลื่อนตัว ของพายุ และถ้ามีน้ำท่วมจากฝนตกหนักอาจต้องอพยพคนและสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่น้ำท่วม ไม่ถึง หรือไปอยู่ในที่ซึ่งห่างจากชายฝั่ง เพื่อจะได้ปลอดภัยจากคลื่นลมพายุ
ได้มีการประดิษฐ์เครื่องวัดอัตราเร็วลมเพื่อหาอัตราเร็วลมในที่ต่างๆ เครื่องวัดอัตราเร็วลมที่นิยมใช้จะมีลักษณะเป็นแบบถ้วยครึ่งทรงกลม โดยหันถ้วยด้านเว้าออกรับลม ทำให้ถ้วยหมุนได้ จำนวนรอบที่หมุนจะสัมพันธ์กับระยะทางที่ลมพัดผ่านเครื่องวัดในระยะเวลาจำกัด จึงทำให้หาอัตราเร็วลมได้
การติดตั้งเครื่องวัดอัตราเร็วลมควรติดตั้งบนเสาในที่โล่งห่างจากสิ่งกีด ขวางทางลม เช่น อาคาร ต้นไม้ และควรจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 10 เมตร ถ้าเป็นบริเวณพื้นน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคู่กับลม คือ คลื่น ถ้าลมแรงคลื่นจะสูง ถ้าลมสงบก็จะไม่มีคลื่น การติดตั้งเครื่องวัดอัตราเร็วลม จะติดตั้งพร้อมกับเครื่องวัดทิศทางลม
พายุหมุนเขตร้อน หมายถึง พายุหมุนที่เกิดขึ้นเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ซึ่งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้
ทางอุตุนิยมวิทยาได้ใช้อัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุเพื่อแบ่งประเภท พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ได้ดังนี้
การเรียกชื่อพายุนั้นเรียกต่างๆ กันตามบริเวณที่เกิด เช่น
1. ถ้าพายุเกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า พายุไซโคลน
2. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริเบียน อ่าวเม็กซิโก เรียกว่า พายุเฮอริเคน
3. ถ้าพายุเกิดในออสเตรเลีย เรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี
4. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีน เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น
ส่วนพายุทอร์นาโดหรือลมงวงช้าง มีลักษณะหมุนเป็นเกลียว โดยจะเห็นลมหอบฝุ่นละอองเป็นลำ พุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ คล้ายมีงวงหรือปล่องยื่นลงมา ซึ่งพายุนี้เกิดขึ้นได้ทุกทวีป แต่เกิดบ่อยที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เกิดได้เกือบตลอดปี พายุนี้มีอำนาจทำลายร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ รวมทั้งชีวิตมนุษย์และสัตว์ด้วย ขณะเกิดพายุนี้มักมีฟ้าคะนองและฝนตกหนักขึ้นพร้อมกัน บางครั้งยังมีลมพายุพัดกระโชกแรง พาเอาลูกเห็บมาด้วย พายุทอร์นาโดจะเกิดในเมฆที่ก่อตัวทางตั้งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
นอกจากลมจะทำให้เกิดความเสียหายแล้ว แต่ก็ยังให้ประโยชน์กับมนุษย์มากมาย เช่น ใช้ในการแล่นเรือ ในชีวิตประจำวัน ลมทำให้ผ้าแห้ง ช่วยให้เกิดความเย็นสบาย ช่วยหมุนกังหันเพื่อฉุดระหัดวิดน้ำ ปั๊มสูบน้ำ ปั่นไฟ ใช้ประโยชน์จากแรงลมซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
ลมมรสุม เป็นลมที่พัดประจำฤดู เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆ มีบริเวณกว้างและเป็นลมที่พัดเป็นระยะเวลาแน่นอนตลอดฤดุของทุกปี การเอียงของแกนโลก ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงมาตามตำแหน่งต่างๆ มีปริมาณต่างกัน ซึ่งทำให้อุณหภูมิในบริเวณต่างๆ เปลี่ยนไป และความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย จึงทำให้เกิดลมประจำฤดู
ลมมรสุมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. ลมมรสุมฤดูร้อน เป็นลมพัดจากทะเลเข้าสู่พื้นดิน เกิดขึ้นในฤดูร้อน ลมมรสุมฤดูร้อนนำความชุ่มชื้นหรือฝนจากทะเลมาสู่แผ่นดิน ในทวีปเอเชีย เรียกว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยจะพัดอยู่นาน 6 เดือน คือ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
2. ลมมรสุมฤดูหนาว เป็นลมพัดจากใจกลางทวีปที่มีความกดอากาศสูงไปสู่ทะเลหรือบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำ เป็นลมที่นำความหนาวเย็นและความแห้งแล้ง เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดอยู่นาน 6 เดือน คือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม
เราสามารถสังเกตทิศทางของลมว่าลมพัดมาจากทิศใด โดยอาศัยวิธีทางธรรมชาติ เช่น สังเกตจากควันไฟ ใบไม้ไหว ธงสบัด เป็นต้น แต่อาจใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทางลมได้ไม่แน่นอน ได้มีผู้ประดิษฐ์คิดเครื่องตรวจสอบทิศทางลม เรียกว่า ศรลม ซึ่งใช้สำหรับวัดทิศทางลมในธรรมชาต
การติดตั้งศรลม ควรติดตั้งไว้ในที่สูงๆ เช่น หลังคาบ้าน เป็นต้น ในการวัดถ้าปลายศรชี้ไปทางใด แสดงว่าลมพัดมาจากทางทิศนั้น ถ้าปลายศรอยู่ระหว่างทิศเหนือและทิศตะวันตก แสดงว่าลมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และถ้าศรชี้ระหว่างทิศใต้และทิศตะวันออกแสดงว่าลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียง ใต้
การวัดทิศทางลมบางครั้งวัดเป็นองศา โดยกำหนดไว้ให้ทิศเหนือ (N) เท่ากับ 0 องศา (หรือ 360 องศา) ทิศอื่นๆ จะวัดตามเข็มนาฬิกา โดยทิศตะวันออก (E) จะเป็น 90 องศา, ทิศใต้ (S) 180 องศา และทิศตะวันตก (W) 270 องศา
ปัจจุบันการรายงานทิศทางลมสำหรับเขียนแผนที่อากาศ ใช้รายงานเป็นองศาดังนี้ เช่น ลมที่พัดมาจากทิศตะวันออก จะเรียกว่า ลมตะวันออก หรือ ลม 90 องศา ลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า ลมตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ลม 225 องศา
ลมมีอัตราเร็วต่างกัน ถ้าลมมีอัตราเร็วสูง จะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง ลมที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ถ้ามีอัตราเร็วตั้งแต่ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเริ่มก่อให้เกิดความเสียหาย ถ้าอัตราเร็วลมตั้งแต่ 89 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถทำความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนได้ ถ้าเป้นลมพายุซึ่งมีอัตราเร็วลมมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความรุนแรงและความเสียหายมีสูงมาก
พายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน เรียกว่า พายุฤดูร้อน เป็นการหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและฉับพลัน เกิดฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และอาจมีลูกเห็บตกด้วย ส่วนพายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เรียกว่า พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดเหมือนพายุฤดูร้อนแต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงเท่า
สำหรับพายุบางชนิดเป็นพายุที่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าพายุหมุนทวีกำลังแรงขึ้นจะเป็นพายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น เช่น พายุไต้ฝุ่น "เกย์" ที่พัดผ่านเข้ามาทางจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน2532 เมื่อใดก็ตามที่พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนขึ้นฝั่ง จะทำความเสียหายให้กับตัวเมือง หรือ หมู่บ้านที่พายุไต้ฝุ่นผ่านอย่างมหาศาล จึงควรมีการป้องกันอันตรายจากพายุหมุน พายุฟ้าคะนอง โดยติดตามฟังการพยากรณ์อากาศจากวิทยุ โทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ เตรียมพร้อมก่อนที่พายุจะมา และอยู่แต่ในบ้าน ถ้าอยู่ในทะเลต้องรีบกลับเข้าฝั่งและคอยฟังคำเตือนเกี่ยวกับการเคลื่อนตัว ของพายุ และถ้ามีน้ำท่วมจากฝนตกหนักอาจต้องอพยพคนและสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่น้ำท่วม ไม่ถึง หรือไปอยู่ในที่ซึ่งห่างจากชายฝั่ง เพื่อจะได้ปลอดภัยจากคลื่นลมพายุ
ได้มีการประดิษฐ์เครื่องวัดอัตราเร็วลมเพื่อหาอัตราเร็วลมในที่ต่างๆ เครื่องวัดอัตราเร็วลมที่นิยมใช้จะมีลักษณะเป็นแบบถ้วยครึ่งทรงกลม โดยหันถ้วยด้านเว้าออกรับลม ทำให้ถ้วยหมุนได้ จำนวนรอบที่หมุนจะสัมพันธ์กับระยะทางที่ลมพัดผ่านเครื่องวัดในระยะเวลาจำกัด จึงทำให้หาอัตราเร็วลมได้
การติดตั้งเครื่องวัดอัตราเร็วลมควรติดตั้งบนเสาในที่โล่งห่างจากสิ่งกีด ขวางทางลม เช่น อาคาร ต้นไม้ และควรจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 10 เมตร ถ้าเป็นบริเวณพื้นน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคู่กับลม คือ คลื่น ถ้าลมแรงคลื่นจะสูง ถ้าลมสงบก็จะไม่มีคลื่น การติดตั้งเครื่องวัดอัตราเร็วลม จะติดตั้งพร้อมกับเครื่องวัดทิศทางลม
พายุหมุนเขตร้อน หมายถึง พายุหมุนที่เกิดขึ้นเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ซึ่งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้
ทางอุตุนิยมวิทยาได้ใช้อัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุเพื่อแบ่งประเภท พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ได้ดังนี้
ประเภท | ความเร็วลม |
พายุดีเปรสชั่น | ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง |
พายุโซนร้อน | ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 70-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง |
พายุไต้ฝุ่น | ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป |
การเรียกชื่อพายุนั้นเรียกต่างๆ กันตามบริเวณที่เกิด เช่น
1. ถ้าพายุเกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า พายุไซโคลน
2. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริเบียน อ่าวเม็กซิโก เรียกว่า พายุเฮอริเคน
3. ถ้าพายุเกิดในออสเตรเลีย เรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี
4. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีน เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น
ส่วนพายุทอร์นาโดหรือลมงวงช้าง มีลักษณะหมุนเป็นเกลียว โดยจะเห็นลมหอบฝุ่นละอองเป็นลำ พุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ คล้ายมีงวงหรือปล่องยื่นลงมา ซึ่งพายุนี้เกิดขึ้นได้ทุกทวีป แต่เกิดบ่อยที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เกิดได้เกือบตลอดปี พายุนี้มีอำนาจทำลายร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ รวมทั้งชีวิตมนุษย์และสัตว์ด้วย ขณะเกิดพายุนี้มักมีฟ้าคะนองและฝนตกหนักขึ้นพร้อมกัน บางครั้งยังมีลมพายุพัดกระโชกแรง พาเอาลูกเห็บมาด้วย พายุทอร์นาโดจะเกิดในเมฆที่ก่อตัวทางตั้งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
นอกจากลมจะทำให้เกิดความเสียหายแล้ว แต่ก็ยังให้ประโยชน์กับมนุษย์มากมาย เช่น ใช้ในการแล่นเรือ ในชีวิตประจำวัน ลมทำให้ผ้าแห้ง ช่วยให้เกิดความเย็นสบาย ช่วยหมุนกังหันเพื่อฉุดระหัดวิดน้ำ ปั๊มสูบน้ำ ปั่นไฟ ใช้ประโยชน์จากแรงลมซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
คำสำคัญ
ลม
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1, ป.2, ป.3, ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2111 น่ารู้เรื่องลม /article-science/item/2111-i-do-not-knowเพิ่มในรายการโปรด