logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

NASA มุ่งเสาะหาดาวเคราะห์เหมือนโลก

โดย :
Jiraporn Pakorn
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 08 มกราคม 2558
Hits
6938

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านอวกาศใหม่ๆ ในปัจจุบันช่วยสร้างความหวังว่าการค้นพบดาวเคราะห์เหมือนโลกในกาแลคซี่น่าจะเป็นไปได้ในอนาคตที่ไม่ไกลเกินเอื้อม


ตอนที่องค์การสำรวจอวกาศแห่งสหรัฐหรือ NASA ส่งยานสำรวจดาวเคราะห์ Kepler Space Telescope ออกไปสำรวจดาวเคราะห์เหมือนโลกในอวกาศเมื่อปีคริสตศักราช 2009 คุณ Matt Moutain ผู้อำนวยการแห่งสถาบัน Space Telescope Science กล่าวว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศได้รับข้อมูลใหม่ๆ ที่มีความสำคัญอย่างมาก

เขากล่าวว่าพวกเขาได้รู้ว่ามีดาวเคราะห์อย่างน้อยหนึ่งเเสนล้านดวงในกาแลคซี่ซึ่งนี่เป็นข้อมูลใหม่ที่นาซ่าไม่รู้มาก่อนเมื่อห้าปีที่เเล้ว

ยานสำรวจดาวเคราะห์นอกโลก Kepler และยานสำรวจดาวเคราะห์นอกโลกลำอื่นๆ ไม่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้ได้จริงๆ เพราะดาวเคราะห์นอกโลกเหล่านี้ดูเลือนลาง มองเห็นไม่ชัดเนื่องจากถูกต้องกับเเสงขณะโคจรรอบดาวฤกษ์

แต่นักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศสามารถวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของแสงได้เมื่อดาวเคราะห์โคจรผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์และทำการวิเคราะห์เเสงที่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นั้นๆ เพื่อระบุว่ามีอะไรอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนั้น

คุณ John Grunsfeld นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งองค์การ NASA และอดีตนักบินอวกาศกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าหากจะมองหาโลกดวงอื่นในกาแลคซี่ ต้องเสาะหาสิ่งที่เเสดงว่ามีท้องฟ้าเหมือนกับท้องฟ้าสีฟ้าที่โลกมนุษย์มี มองหาว่ามีเเก๊สอ็อกซิเจนบนดาวเคราะห์ดวงนั้น มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากปล่องภูเขาไฟเหมือนที่เรามีบนโลก ตลอดจนมองหาสิ่งที่ชี้ว่ามีต้นไม้บนดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้น เขากล่าวว่าทุกอย่างที่กล่าวมานี้ สามารถทำได้ด้วยการวิเคราะห์เเสงที่มองเห็นออกเป็นส่วนประกอบของสีต่างๆ

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่ามาถึงขณะนี้ ยังไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่นาซ่าค้นพบที่เหมือนกับโลกที่เราอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์ที่ค้นพบเเล้วส่วนมากมีขนาดใหญ่เกินไป ขนาดเล็กเกินไป ตั้งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไปหรือไม่ก็ไกลจากดวงอาทิตย์มากเกินไปจนทำให้ไม่มีสิ่งชีวิตอยู่รอดได้

เเต่คุณ Sara Seager นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์อีกคนหนึ่งกล่าวว่าดาวเคราะห์ดวงเล็กที่มีขนาดเท่ากับโลกของเรามีให้พบได้ทั่วไป เธอกล่าวว่านักวิทยาศาสตร์กำลังมองหาหลักฐานทางชีววิทยา แก๊สชนิดต่างๆ ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต แก๊สที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ

นาซ่าได้ร่วมมือกับองค์การสำรวจอวกาศแห่งยุโรปและบรรดานักวิทยาศาสตร์จากอีกหลายๆ ชาติเพื่อพัฒนายานสำรวจอวกาศที่มีกล้องส่องดูดาวรุ่นใหม่ๆ ที่ทันสมัยที่จะช่วยค้นหาสิ่งที่ชี้ถึงสิ่งมีชีวิตนอกโลกได้

นาซ่าวางแผนที่จะส่งยานสำรวจดาวเคราะห์ติดกล้องส่องดูดาวตัวใหม่ชื่อ James Webb Space Telescope ออกไปทำงานนอกโลกในปีคริสตศักราช 2018 ที่จะมาถึง กล้องส่องดูดาวนี้จะมีความไวสูงมากและได้ความละเอียดของภาพสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาและจะช่วยพัฒนาการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้นให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

บรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศต่างชี้ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่จะค้นพบดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่มีความเหมือนกับโลกมนุษย์และการค้นพบนี้อาจจะช่วยตอบคำถามได้ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบจักรวาล


ที่มา http://www.voathai.com/content/looking-for-earth-like-planets-tk/1970855.html

http://m.voathai.com/a/1963264.html

http://www.nstda.or.th/index.php/component/taxonomy/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2?start=60


  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.