logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?

เข้าใจ โรคไวรัสอีโบลา อย่างวิทยาศาสตร์

โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันเสาร์, 10 กันยายน 2559
Hits
4122

เข้าใจ โรคไวรัสอีโบลา อย่างวิทยาศาสตร์

ebola1

ในปี 2014 ได้เกิดการแพร่ระบาดของ “อีโบลา” ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งนับเป็นการระบาดของ อีโบลา ครั้งใหญ่ที่สุด และนับว่าเป็นการแพร่ระบาดครั้งสำคัญในปีนั้นที่ทั่วทั้งโลกเฝ้าจับตามอง และมีการระวังภัยอย่างเข้มงวดที่สุดของปี 2014 เลยทีเดียว

โดยก่อนหน้านี้นั้น ได้เกิดการแพร่ระบาดมาก่อนแล้วเช่นกัน ซึ่งได้มีเอกสารคำแนะนำสำหรับการควบคุมการติดเชื้อขณะดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไข้เลือดออกอีโบลา มีชื่อเอกสารว่า Interim infection control recommendations for care of patients with suspected or confirmed Filovirus (Ebola, Marburg) haemorrhagic fever, March 2008

ซึ่งบันทึกตารางลำดับเวลาของการระบาดของโรคโดยไวรัสอีโบลาก่อนหน้านี้ ดังนี้


ebola1 3jpg 1

แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เกิดการแพร่ระบาดในไทย แต่กระนั้นประเทศไทยเองก็ได้มีการตามข่าวสารจากต่างประเทศ คอยเฝ้าระวังอย่างไม่ลดละเช่นกัน เพราะมีอัตราการแพร่ระบายที่สูงมาก และคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายในระยะเวลาสั้นๆ  ถึงแม้การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่ อีโบรา ก็ได้กลายมาเป็นไวรัสอีกชนิดนี้ที่เราควรมีความรู้ติดตัวเอาไว้ วันนี้เราจะมากล่าวถึง อีโบลา ในแบบวิทยาศาสตร์กัน

โรคไวรัสอีโบลาพบการระบาดครั้งแรกในปีค.ศ. 1976 หรือประมาณปีพ.ศ. 2519  พร้อมกัน 2 ที่คือในเมือง Nzara  ประเทศซูดาน และเมือง Yambuku สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  ซึ่งต่อมาเรียกชื่อโรคนี้ว่าโรคไวรัสอีโบลาเนื่องจากเหตุการณ์ระบาดเกิดขึ้นใกล้กับแม่น้ำอีโบลา สกุลของไวรัสอีโบลา Ebolavirus นี้ เป็น 1 ใน 3 ของสกุลที่อยู่ในวงศ์ Filoviridae (filovirus) ของเชื้อไวรัส  คือ สกุล Marburgvirus และ Cuevavirus ซึ่งไวรัสอีโบลานั้นมี 5 ชนิดคือ

  1. Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
  2. Zaire ebolavirus (EBOV)
  3. Sudan ebolavirus (SUDV)
  4. Reston ebolavirus (RESTV)
  5. Taï Forest ebolavirus (TAFV)

BDBV EBOV และ SUDV นั้นเกี่ยวข้องกับการระบาดของ EVD ในแอฟริกา  ส่วน RESTV นั้นพบในประเทศฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งสามารถติดในมนุษย์ได้โดยไม่มีอาการป่วยหรือตายแต่อย่างใด

แหล่งรังโรคตามธรรมชาติ ยังไม่ทราบแน่ชัดจนปัจจุบัน ทวีปอาฟริกา และแปซิฟิกตะวันตกดูเหมือนว่าน่าจะเป็นแหล่งโรค แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ ถึงแม้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น ลิง จะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในมนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่รังโรค เชื่อว่าติดเชื้อมาจากสัตว์ป่า ปัจจับัน ตรวจพบเชื้อในพวก กอริลลา ชิมแปนซี (ไอวอรี่โค้ด และคองโก) กอริลลา(กาบอนและคองโก) และในสัตว์พวกกวางที่มีเขาเป็นเกลียว(คองโก) ในการศึกษาทางห้องปฎิบัติการครั้งหนึ่งแสดงว่าค้างคาวติดเชื้ออีโบลาแล้วไม่ตาย ทำให้เกิดสมมติฐานว่าสัตว์จำพวกนี้หรือไม่ ที่ทำให้เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่ในป่าแถบร้อนชื้น

การแพร่กระจาย และการติดต่อของเชื้อ

เชื้อโรคนี้ติดต่อกันทางการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง ของเหลวจากอวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ในประเทศแอฟริกานั้นมีรายงานการติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออย่างลิงชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้  ลิง ละมั่งป่า เม่น โดยพบว่าสัตว์เหล่านี้จะมีอาการป่วยและตายอยู่ในป่าดิบชื้น

เชื้อไวรัสอีโบลากระจายจากคนสู่คน จากการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อเมือก (mucous membrane) ที่เป็นแผลกับเลือด สารคัดหลั่ง ของเหลวจากอวัยวะหรือส่วนอื่นๆของร่างกายผู้ติดเชื้อ และจากการที่ไม่ได้สัมผัสโดยตรงโดยผ่านการปนเปื้อนของเชื้อในสิ่งแวดล้อมเช่นจากของเหลว ในงานศพหากผู้ที่มาไว้อาลัยมีการสัมผัสร่างกายของผู้ป่วยที่ตายก็สามารถติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นจากโรคก็ยังสามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำอสุจิได้ถึง 7 สัปดาห์หลังจากอาการป่วยดีขึ้น

สภาพทางปรสิตวิทยาในธรรมชาติของเชื้อไวรัสอีโบลา

ในประเทศแอฟริกา ค้างคาวผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ Hypsignathus monstrosus (hammer-headed fruit bat), Epomops franqueti (Franquet's epauletted bat) และ Myonycteris torquata (little collared fruit bat)  เป็นที่อยู่ (host) ของไวรัสอีโบลา การกระจายตัวทางสภาพภูมิศาสตร์ของไวรัสอีโบลาอาจทำเกิดแนวทับซ้อนของค้างคาวผลไม้

ภาพจาก

http://www.epainassist.com/infections/ebola-virus

https://www.shutterstock.com/search/epaulets?search_source=base_keyword

http://www.slideshare.net/NamchaiChewawiwat/ebola-virus-disease

http://www.vcharkarn.com/varticle/61365

เนื้อหาจาก

http://www.slideshare.net/NamchaiChewawiwat/ebola-virus-disease

http://www.boe.moph.go.th/fact/Ebola.htm

http://www.vcharkarn.com/varticle/61365

http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/22-knowledge/18562-ebola-virus-disease

 

  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
  • ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป...
อ่านต่อ..
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
  • ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป...
อ่านต่อ..
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.