logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?

เรื่องน่ารู้ 'ต้อกระจก'

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันพุธ, 19 กันยายน 2555
Hits
2466



ต้อกระจก คือ สภาวะการขุ่นมัวและแข็งตัว ของเลนส์ตา ทำให้แสงผ่านไปยังประสาทตาได้น้อยลง สายตาจะมัวลงเรื่อยๆ ตามความขุ่นทึบของเลนส์ตา


อาการของโรคต้อกระจก คือ มองเห็นภายในลักษณะคล้ายควันหรือหมอกบัง ซึ่งหากปล่อยต้อกระจกทิ้งไว้นาน เลนส์จะสุกเห็นตาดำตรงกลางมีสีขาว ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอาการปวดตาอย่างรุนแรงและลุกลามเป็นต้อหินหรือม่านตาอักเสบถ้ารักษาไม่ทัน อาจสูญเสียการมองเห็นในที่สุด


สาเหตุของโรค เกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุขัย (มักเกิดระหว่าง 50-60 ปี) อุบัติเหตุ, พิษจากสารเคมี, กรรมพันธุ์ เกิดจากยาบางชนิด เช่น คอติโดสเตอรอยด์  เกิดจากโรคตาบางชนิด เช่น ม่านตาอักเสบ, เบาหวานขึ้นตา, เบาหวาน, ต้อหิน, ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดตา และเกิดจากแสงแดด แสง X-rays, เกิดตามหลัง ภาวะที่มีท้องร่วงรุนแรง, ภาวะขาดน้ำ, ขาดอาหาร การรักษาโรคต้อกระจก


กรณีไม่ผ่าตัด ส่วนใหญ่ต้อกระจกในระยะเริ่มแรก อาจแก้สายตาให้มองเห็นดีขึ้นโดยการใส่แว่น หรือแว่นขยาย ยังไม่พบว่ามียาที่ทำให้เลนส์ตาขุ่นกลับมาใสได้ ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติจะสามารถช่วยชะลอเลนส์ให้ขุ่นช้าลงได้


กรณีผ่าตัด จักษุแพทย์จะพิจารณาจากระยะของเลนส์ตา ที่ขุ่นว่ามากน้อยเพียงใด และพิจารณาจาก อาการตามัว ถ้าเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หรือกิจวัตรประจำวันก็ควรได้รับการผ่าตัดรักษา


การชะลอการเกิดต้อกระจก ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด โดยสวมแว่นกันแดด หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ตา


การผ่าตัดต้อกระจกมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างและเย็บแผล  และการผ่าตัดโดยการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (การผ่าตัดทั้ง 2 วิธี ใช้หยอดยาชา และฉีดยาชาก่อนผ่าตัด) ก่อนการผ่าตัดควรปฏิบัติอย่างไร 1.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้กินยาตามปกติ ยกเว้นบางรายที่แพทย์แจ้งให้งดก่อนผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด 2. หนึ่งวันก่อนผ่าตัดควรสระผมให้สะอาด งดแต่งหน้า และ 3.ไม่ต้องงดอาหาร (กรณีแพทย์สั่ง)



ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสส.







  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.