logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • การบริหารความถี่ จากอดีตสู่อนาคต (Spectrum Management… From the Past to the Future)

การบริหารความถี่ จากอดีตสู่อนาคต (Spectrum Management… From the Past to the Future)

โดย :
พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
เมื่อ :
วันจันทร์, 13 กันยายน 2553
Hits
32300

การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของโครงข่ายโทรเลขเป็นผลให้ประเทศในยุโรปตกลงที่จะร่วมกันพัฒนากรอบความตกลงในเรื่องของการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ


พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)


 

ยุคเริ่มต้น
             นโยบายและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับการโทรคมนาคมเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 18 เมื่อ Samuel Morse ได้ส่งข้อความผ่านทางโทรเลขเมื่อวันที่ 24  พฤษภาคม ค.ศ. 1844  จากรัฐวอชิงตันไปยังเมืองบัลติมอร์   และภายหลังจากนั้น 10 ปี ก็ได้มีการนำโทรเลขออกให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป  แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการให้บริการข้ามประเทศ  เนื่องจากแต่ละประเทศยังคงใช้ระบบโทรคมนาคมที่แตกต่างกัน  ในการส่งข้อความโทรเลขจึงต้องมีการถอดรหัสข้อความที่จะส่งก่อนจึงจะส่งก่อน จึงจะส่งข้อความดังกล่าวไปยังโครงข่ายของประเทศเพื่อนบ้านได้  ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลามาก  เป็นเหตุให้ประเทศต่างๆได้ทำความตกลงระหว่างกันเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

             แต่เนื่องจากาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศอยู่ภายใต้กำกับ ดูแลในระดับมาตรฐานของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน  จึงมีข้อตกลงเกิดขึ้นหลายฉบับ  ด้วยเหตุนี้ประเทศทั้งหลายจึงร่วมกันทำความตกลงในระดับทวิภาคีและระดับ ภูมิภาคเพื่อพัฒนามาเป็นอนุสัญญาในเวลาต่อมา การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของโครงข่ายโทรเลขเป็นผลให้ประเทศในยุโรป ตกลงที่จะร่วมกันพัฒนากรอบความตกลงในเรื่องของการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ  ได้แก่  กฎเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องการใช้อุปกรณ์เพื่ออำนวยการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ  ได้แก่  กฎเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องการใช้อุปกรณ์เพื่ออำนวยการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่าง ประเทศ  และกำหนดแนวทางปฏิบัติและอัตราค่าเชื่อมต่อให้กับประเทศต่างๆ

             จนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1865   ได้มีการลงนามในอนุสัญญาโทรเลขระหว่างประเทศฉบับแรกที่ปารีส และจัดตั้ง International Telegraph Union ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรภาครัฐระดับสากลองค์กรแรก ต่อมาในปี 1906 ได้มีการก่อตั้ง International Radiotelegraph Union โดยทั้งสององค์กรทำหน้าที่ดูแลในเรื่องความตกลงดังกล่าวและความตกลงต่างๆ เกี่ยวกับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งมีการดำเนินการจัดการประชุมและตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ เช่น International Radiotelegraph Conference, International Radio Consultative Committee (CCIR), International Telephone   Consultative   Committee   (CCIF)   และ International Telegraph Consultative Committee (CCIT)  

สู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
             ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1920 ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการใช้งานวิทยุกระจายเสียงอย่างแพร่หลายแต่ก็ยังขาดกฎระเบียบการควบคุมจึงเกิดสัญญาณการรบกวนเกิดขึ้น จนทำให้ประธานาธิปดี Harding สั่งการให้ Herbert Hoover รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้นจัดการประชุมกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อ ศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาและหาทางออกโดยนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

             Herbert Hoover จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วม (Interdepartment Radio Advisory Committee : IRAC) เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของประธานาธิปดีฯ โดยในช่วงปี ค.ศ. 1922-1925 ได้มีการจัดการประชุมระดับชาติถึง 4 ครั้ง และได้ผลเป็นข้อเสนอแนะในการจัดสรรคลื่นความถี่แต่มิได้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แต่อย่างใด 

             ในปี 1926 Hoover ได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลแคนาดาในการใช้ความถี่ร่วม 6 ช่องสัญญาณ จากผลดังกล่าวจึงทำให้สถานีวิทยุแห่งหนึ่งในรัฐชิคาโกร้องขอเพื่อใช้ 1 ช่องสัญญาณ แต่ได้รับการปฏิเสธจากกระทรวงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามสถานีวิทยุแห่งนั้นก็ยังใช้งานช่องสัญญาณดังกล่าวแม้ว่ามิได้รับอนุญาต จึงทำให้รัฐบาลฟ้องร้องสถานีวิทยุแห่งนั้นในเวลาต่อมา และผลจากการตัดสินของศาลคือการยกฟ้องเนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจตาม กฎหมายในการปฏิเสธการให้ประชาชนใช้ช่องสัญญาณวิทยุกระจายเสียง จนทำให้รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการออกกฎหมายที่เกียวข้องกับการใช้ความถี่ตั้งแต่นั้นมา 

              ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 วุฒิสภาสหรัฐฯ (Congress) ได้ผ่านกฎหมาย “The Radio Act 1927” มีเนื้อหาสำคัญคือให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการวิทยุแห่งชาติ (Federal Radio Commission (FRC))   โดยมีองค์ประกอบกรรมการ 5 ท่าน ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ ควบคุมระดับกำลังส่ง และพิจารณาการออกใบอนุญาตในการดำเนินการตั้งวิทยุสถานีเพื่อออกอากาศ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวก็เกิดปัญหาการแต่งตั้งคณะกรรมการจากวุฒิสภาฯล่าช้า ถึงกว่าครึ่งปี และยังมีอุปสรรคด้านกฎหมายที่ซับซ้อนในการดำเนินงานของ FRC อีกด้วย  

             ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1927 ได้มีการจัดการประชุมระดับนานาชาติครั้งที่ 4 คือการประชุม “The Fourth International Radio Conference” ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมที่มีการออกกฎระเบียบในการบริหารความถี่เป็นครั้งแรก โดยกฎระเบียบในการบริหารความถี่ดังกล่าวแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ (1) กฎระเบียบทั่วไป (General regulations)  เป็นกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และ (2) กฎระเบียบเสริม (Supplementary regulations) เป็นกฎระเบียบในด้านการจัดการด้านการดำเนินการให้บริการในกิจการวิทยุ ในกฎระเบียบทั่วไปนั้น มีการจัดสรรคลื่นความถี่โดยอยู่บนพื้นฐานของชนิดของการให้บริการ (การบริการแบบอยู่กับที่ (Fixed services), การให้บริการแบบเคลื่อนที่ (Mobile services), การกระจายสัญญาณ (Broadcasting), กิจการวิทยุสมัครเล่น (Amateur) ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎระเบียบดังกล่าวที่เขียนขึ้นนั้น ต้องการที่จะสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้า และให้รัฐบาลมีสิทธิที่จะออกกฎระเบียบเพื่อกำกับดูแลการใช้ความถี่ให้มีประสิทธิภาพ และจากความสำเร็จของผลการดำเนินการดังก่าวทำให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคสากลในด้านการสื่อสารวิทยุ (The International Technical Consulting Committee on Radio Communications) เพื่อเตรียมการให้คำปรึกษาและให้ความเห็นด้านเทคนิคหากมีปัญหาการร้องขอจาก นานาชาติและจากภาคเอกชน ส่วนการประชุมครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 (The Fifth and Sixth International Radio Conferences) ไม่มีประเด็นสำคัญมากนักเกี่ยวกับการบริหารความถี่ เพียงแต่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับ การบริหารความถี่ในส่วนการให้บริการสื่อสารเคลื่อนที่เพื่อรองรับระบบการ สื่อสารเพื่อการบิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 ได้มีความเห็นพ้องที่จะรวม International Telegraph  Convention และ International Radiotelegraph  Union เข้าด้วยกันเป็น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union ; ITU)


สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)

             ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการพิจารณาหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการวิทยุ กระจายเสียง กิจการสื่อสารโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน เนื่องจากมีความสับสนในการบริหารจัดการและไม่มีความเป็นเอกภาพ เช่น Post Office Department ที่ทำหน้าที่ดูแลกิจการไปรษณีย์, The Interstate Commerce Commission (ICC) ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรศัพท์พื้นฐาน และ FRC ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการ Broadcasting ดังนั้นเพื่อให้เกิดเอกภาพในการกำกับดูแล รัฐบาลสหรัฐฯจึงได้ออกกฎหมายการสื่อสาร (The Communications Act of 1934) โดยมีผลให้เกิดการจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “The Federal Communications Commission (FCC)” องค์ประกอบของ FCC ประกอบไปด้วยกรรมการ 7 ท่าน (รวมประธานกรรมการ 1 ท่าน และต่อมาเปลี่ยนแปลงเหลือเพียง 5 ท่าน) โดยประธานาธิปดีสหรัฐฯเป็นผู้แต่งตั้ง และเป็นผู้กำหนดประธานกรรมการ 1 ท่าน ต่อมาองค์กรที่มีชื่อว่า National Telecommunications and Information Administration  (NTIA) ได้ถูกตั้งขึ้นในปี  1978 เป็นองค์กรหนึ่งในกระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ปรึกษาระดับสูงให้แก่ประธานาธิบดีทางด้านนโยบายสารสนเทศและโทรคมนาคม ในบทบาทดังกล่าว NTIA จะทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับบริหารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและนำเสนอจุดยืนระดับนโยบายและการบริหารจัดการทางด้านนโยบาย สารสนเทศและโทรคมนาคมระดับยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ  NTIA นอกจากจะเป็นหน่วยงานระดับบริหาร ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาระดับสูงให้แก่ประธานาธิบดีทางด้านนโยบายสารสนเทศและ โทรคมนาคมทั้งในมิติระดับชาติและระดับสากลแล้ว NTIA ยังต้องบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ (Spectrum) ในระดับชาติ ดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งแก้ปัญหาทางเทคนิคโทรคมนาคมให้แก่รัฐบาลและภาดเอกชน อีกทั้งยังต้องบริหารจัดการเพื่อที่จะพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและโทร คมนาคมเพื่อสาธารณะ ขอบเขตความรับผิดชอบของ NTIA และ FCC นั้นแตกต่างกันคือ NTIA (จาก MOU ระหว่าง NTIA และ FCC ในปี 2003) จะมีขอบเขตกำกับดูแลการบริหารคลื่นความถี่ในระดับยุทธศาสตร์ชาติ (ตามกฎหมาย The NTIA Organization Act of 1992) คือดูแลรับผิดชอบในภารกิจระดับรัฐบาลกลาง (Federal Government) ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ การบังคับใช้กฎหมาย ความมั่นคงของรัฐ การคมนาคมและขนส่ง การบริหารทรัพยากร กิจการด้านภาวะฉุกเฉินและอื่นๆ และที่ควรทราบอีกประการหนึ่งคือ FCC มีหน้าที่ออกใบอนุญาตเมื่อความถี่ได้ถูกจัดสรรให้ผู้ได้รับใบอนุญาต แต่ในขณะที่ NTIA ทำหน้าที่มอบความมีสิทธิในการใช้ความถี่ให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาต (FCC issues licenses when it assigns spectrum to its users while the NTIA grants authorizations to its users.)

             โดยสรุป FCC จะรับผิดชอบการใช้งานด้านความถี่ของผู้ใช้งานที่ไม่ใช้หน่วยงานของรัฐบาลกลาง (Non-federal users) เช่น การ Broadcast  การพาณิชย์ ความปลอดภัยสาธารณะและผู้ใช้งานภาครัฐตามรัฐต่างๆในระดับภูมิภาค (State and local government users) ส่วน NTIA รับผิดชอบการใช้งานด้านความถี่ของผู้ใช้งานในส่วนรัฐบาลกลาง (Federal users) โดยที่ทั้ง FCC และ NTIA จะต้องประสานงานในด้านนโยบายความถี่ด้วย โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีอำนาจในการกำกับดูแล NTIA ซึ่งอยุ่ภายใต้กระทรวงพาณิชย์และวุฒิสภา (Congress) มีอำนาจกำกับดูแล FCC และยังมีคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วมวิทยุ (Interdepartment Radio Advisory Committee) เป็นคณะที่ปรึกษาให้แก่ทั้งสององค์กร ซึ่งมีตัวแทนจากองค์กรจากรัฐบาลกลาง 20 องค์กรเข้าร่วม ดังแสดงในรูปต่อไปนี้


รูปแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบและการประสานงานระหว่าง NTIA และ FCC

             ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง ได้มีการจัดการประชุมระดับนานาชาติขึ้นในปี 1947 หลังจากหยุดชะงักจากผลของสงคราม คือ การประชุม “The Seventh International Radio Conference” ที่ Atlantic City ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีสาระสำคัญจากมติที่ประชุมให้มีการปรับโครงสร้างองค์กร ITU โดยให้เปลี่ยนเป็นหน่วยงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ (UN specialized agency) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1947 และได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากเบิรน์ไปที่เจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ และในขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้ง International Frequency Registration Board (IFRB) เพื่อเข้ามาจัดการเกี่ยวกับปัญหาคลื่นความถี่ และในปี ค.ศ. 1956 องค์กร CCIT และ CCIF ก็ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวเป็น International Telephone and Telegraph Consultative Committee (CCITT) ช่วงเวลานี้เองอุตสาหกรรมโทรคมนาคมถือว่าเป็นช่วงเวลาที่การบริหารจัดการ ด้านความถี่ได้ถูกพัฒนาเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (Maturing of International Regulation)

             สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นองค์กรชำนัญพิเศษภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ (United Nation) ถือว่าเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นศูนย์รวมแห่งองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชนและนักวิชาการในการพัฒนาเครือข่ายและการให้บริการ เป็นศูนย์กลางการกำกับดูแลในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายในการบริหารทรัพยากรคลื่นความถี่และพัฒนากิจการโทรคมนาคมของนานาประเทศทั่วโลก ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Harmonization) อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมใช้เป็นเวทีสากลในการวางแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีและวางมาตรฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  รวมทั้งให้คำแนะนำกรอบนโยบายการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้แก่ประเทศสมาชิก ให้เกิดการประสานสอดคล้องกับแนวทางนโยบายของประเทศสมาชิกอื่นทั่วโลก  ตลอดจนวางกระบวนการระงับข้อพิพาทจากการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ร่วมกัน โดยมีโครงสร้างตามรูปที่แสดงต่อไป


รูปแสดงโครงสร้างองค์กร ITU

จากรูป ITU ประกอบไปด้วยหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน ดังนี้

1) Telecommunication Development (ITU-D)
             ITU-D ได้ถูกสถาปนาขึ้นในปี 1992 ภารกิจของ ITU-D มุ่งเน้นให้มีการบรรลุผลเพื่อให้มวลมนุษยชาติสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการให้บริการสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกทางด้านเทคนิคบุคคลากร และเงินทุน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) รวมไปจนถึงการสนับสนุนในการขยายผลให้มวลมนุษยชาติได้รับประโยชน์จาก ICT ยิ่งไปกว่านั้นยังรับผิดชอบเกี่ยวกับการนำแนวทางนำการโทรคมนาคมมาพัฒนาประเทศที่ล้าหลัง โดยการจัดการศึกษา จัดกิจกรรม เกี่ยวกับการให้ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งเป็นผู้ช่วยเหลือโดยตรงในการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมของประเทศกำลัง พัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาให้มีโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT infrastructure)

โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานที่สำคัญนี้ (Structure and Functioning of the Development Sector) คือ 
             • Telecommunication Development Conferences 
             • The Istanbul Action Plan 
             • ITU-D Study Groups 
             • Telecommunication Development Advisory Group 
             • Telecommunication Development Bureau 
             • Field Operations and Regional Presence

2) Radio communications (ITU-R) 
             ITU-R เป็นหน่วยงาน 1 ใน 3 ซึ่งมีบทบาทในการบริหารคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency spectrum) ในระดับสากล และทำหน้าที่บริหารทรัพยากรวงโคจรดาวเทียม (Satellite orbit resources) อีกทั้งยังพัฒนามาตรฐานระบบวิทยุสื่อสาร โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ โดย  ITU-R จะเป็นผู้กำหนดให้คำแนะนำตั้งแต่คุณลักษณะทางเทคนิคอุปกรณ์และกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ไร้สาย ตลอดจนการเป็นผู้ให้บริการไร้สาย อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการบริหารทรัพยากรคลื่นวิทยุของแต่ละประเทศให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  

             ITU-R ยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการใช้ความถี่วิทยุของโลก (การใช้ความถี่วิทยุสากล) และเป็นนายทะเบียนความถี่วิทยุสากล ทำหน้าที่ในการจดบันทึกการใช้ความถี่วิทยุและประสานงาน เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนซึ่งกันและกันและนำความถี่วิทยุมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

             ITU-R เป็นผู้ออก Radio Regulations (RR) เพื่อให้ประเทศสมาชิกต่างๆ นำกฎระเบียบ ข้อบังคับ ไปกำกับดูแลการบริหารความถี่วิทยุของประเทศสมาชิก และใช้เป็นหลักอ้างอิงในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาการรบกวนซึ่งกันและกัน (Harmful interfere)


รูปแสดงเอกสารข้อบังคับวิทยุสากล (Radio Regulations; RR)

             ข้อบังคับวิทยุสากล (Radio Regulations; RR) นั้นมาจากประเทศสมาชิกต่างๆ รวมทั้งความเห็นจาก ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตในการจัดทำข้อตกลง ระเบียบข้อบังคับ มาเป็นหลักเกณฑ์ใช้ร่วมกันทั่วโลก โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกันในประเทศสมาชิก (Commitment) โดยข้อตกลงต่างๆสามารถปรับปรุงตามการเปลี่ยนแปลงได้โดยเสนอในที่ประชุม World Radiocommunication Conferences (WRCs) ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆ 3 หรือ 4 ปี ซึ่ง RR เป็นแนวทางและหลักปฏิบัติในการใช้งานความถี่วิทยุและวงโคจรดาวเทียม เพื่อลดการรบกวนความถี่วิทยุระหว่างกันให้น้อยที่สุดอีกทั้ง RR ยังมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่สากล (International allocations) ที่ ITU-R ผลิตและปรับปรุงขึ้นจากการประชุม WRC

เนื้อหาใน  RR ประกอบไปด้วย 
             • การจัดสรรความถี่ในแต่ละย่านการให้บริการคลื่นความถี่วิทยุ
             • คุณลักษณะทางเทคนิคของสถานีส่งคลื่นวิทยุที่ต้องมีการเฝ้าระวัง เช่น เครื่องส่ง
             • กระบวนการสำหรับการประสานงาน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันทางด้านเทคนิค (Technical compatibility) และการแจ้งการกำหนดความถี่โดยภาครัฐ ให้มีการบันทึกอย่างเป็นทางการในทะเบียนความถี่สากล (Master International Frequency Register)
             • กระบวนการอื่นๆ และการดำเนินการสำคัญอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะจัดทำขึ้นในอนาคต

โดยการจัดสรรคลื่นความถี่สากลดังกล่าวได้แบ่งออกเป็นภูมิภาคดังแสดงในรูป


รูปแสดงภูมิภาคตามการแบ่งพื้นที่โลกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)

โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงาน ITU-R ที่สำคัญ (Structure and Functioning of the Radio communication Sector) คือ 
             • Radio communication Conferences and Assemblies 
             • Radio Regulations Board 
             • ITU-R Study Groups 
             • Radio communication Advisory Board 
             • Radio communication Bureau

3) Telecommunication Standardization (ITU-T) 
             ITU-T มีหน้าที่กำกับดูแลให้มีการกำหนดมาตรฐานให้ครอบคลุมทุกส่วนของโทรคมนาคม อีกทั้งยังเป็นผู้ที่กำหนดแนวทางคิดค่าธรรมเนียมและหลักการทางด้านบัญชี สำหรับการให้บริการโทรคมนาคมในมาตรฐานสากล ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมทั้งหมด เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผู้บริโภคไม่เสียประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม

             มาตรฐานอุปกรณ์โทรคมนาคมปัจจุบันมีหลากหลายชนิดและส่งข้อมูล (Voice, data or video messages) ไปบนเครือข่ายที่มีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานในการเชื่อมต่อเครือข่ายมาตรฐานต่างๆนั้นผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานโทรคมนาคมทั่วโลกเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะมาจากคณะทำงาน ซึ่งคณะทำงานได้แก่ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศต่างๆ เป็นต้น 

โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานที่สำคัญนี้ (Structure and Functioning of the Standardization Sector) คือ 
             • World Telecommunication Standardization Assemblies 
             • ITU-T Study Groups, Lead Study Groups 
             • Reporters, Focus, Tariff and Intersector Coordination Groups 
             • Coordination with Other Organizations 
             • Telecommunication Standardization Advisory Group 
             • Telecommunication Standardization Bureau 

             และหน่วยงานที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ สำนักงานเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (General Secretariat) ซึ่งมีหน่วยงานที่สำคัญทำหน้าที่ Research and Analysis คือ The SPU (Strategy and Policy Unit) แห่งสำนักงานเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่ได้ทำการวิจัย วิเคราะห์ และทำสถิติเกี่ยวกับงานโทรคมนาคมทั้งหมด และเป็นสำนักงานเลขาธิการอีกด้วย

ก้าวสู่อนาคต
             ด้วยความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Software) ในด้านโทรคมนาคม จึงทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมมีความชาญฉลาดมากขึ้น โดยสามารถทำให้การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) ที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบโทรคมนาคม ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถลดปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรคลื่นความถี่ได้ในระดับหนึ่ง ในปัจจุบันนี้การวิจัยและพัฒนาในสาขาโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการบริหารคลื่นความถี่นั้น ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเนื่องจากจะส่งผลให้สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับการจัดสรรคลื่นความถี่โดยรวม โดยขณะนี้มีผู้วิจัยอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่เริ่มค้นพบหนทางในการแก้ปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรคลื่นความถี่และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีบริหารคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวคือ Dynamic Spectrum Allocation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เทคนิคในการปรับเปลี่ยนหรือย้ายคลื่นความถี่ไปยัง พื้นที่ที่มีความต้องการใช้สูง ระบบจะมีกรรมวิธีในการคำนวณการปรับย้ายคลื่นความถี่แบบอัตโนมัติ และสามารถเพิ่มจำนวนช่องทางการติดต่อสื่อสารให้มากขึ้นในพื้นที่ที่มีความ ต้องการสูง ซึ่งได้มีการแตกสาขาออกไปโดยใช้รูปแบบ Algorithm ที่หลากหลายที่มีความชาญฉลาดในการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ระบบ Cognitive Radio เป็นต้น จนเป็นที่คาดการณ์ว่า เทคโนโลยีโทรคมนาคมในอนาคตซึ่งมีความต้องการในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นภายใต้ ทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ในประเทศไทยในที่สุด

             การบริหารคลื่นความถี่แบบ Dynamic Frequency Allocation ในระบบโทรคมนาคม เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ เนื่องจากสามาถทำให้ระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่แต่ละระบบใช้ Bandwidth และช่องความถี่ที่ถูกจัดสรรให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้การจัดสรรคลื่นความถี่โดยรวมมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นไปด้วย โดยในปัจจุบันการจัดสรรคลื่นความถี่จากภาครัฐจะใช้วิธีการประมูล (spectrum auction) เป็นหลัก  ซึ่งคลื่นความถี่ที่ได้รับการประมูลก็จะถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์  เมื่อกล่าวถึงระบบเซลลูล่าร์  ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะใช้ระบบ Fixed frequency ย่อยๆ ในแต่ละเซลล์ คลื่นที่ได้รับการจัดสรรดังกล่าวจะส่งผลต่อการลงทุนของผู้ประกอบการในแง่มุมต่างๆ เช่น เสาอากาศ เครื่องรับส่ง เป็นต้น อนึ่งการบริหารความถี่แบบ Dynamic Frequency Allocation  จะทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ได้รับการจัดสรรช่องความถี่ไปนั้น จะได้รับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากจะเป็นการบริหารความถี่ที่สามารถรองรับปริมาณการใช้ได้มากขึ้นและไม่ทำให้ Traffic และคุณภาพในการติดต่อสื่อสารลดลง  ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนอุปกรณ์ในการจัดสร้างระบบเครือข่ายลดต่ำลง โดยภาครัฐจะมีรายได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังสามรถสามารถบริหารคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สรุป
             ในอดีตทรัพยากรคลื่นความถี่ยังไม่เป็นที่สนใจมากนักเนื่องจากมีอุปสงค์ไม่มากนัก แต่หลังจากที่เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอุปทานมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้วิธีการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่เปลี่ยนไปจากเดิมที่ไม่มีความซับซ้อน ไปสู่ความซับซ้อนและมีเงื่อนไขมากขึ้น ในปัจจุบันความต้องการใช้ความถี่เชิงพาณิชย์ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆนั้นเป็นปัจจัยนำในการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้ความถี่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีความขาดแคลนเกิดขึ้น อีกทั้งการจัดสรรทรัพยากรความถี่แต่ละประเทศยังมีผลกระทบต่อการจัดสรรความ ถี่ของประเทศอื่นอีกด้วย ทำให้ศาสตร์ทางด้านการบริหารความถี่เป็นศาสตร์ที่มีบทบาทเป็นอันมากในทุกประเทศ

             ในส่วนการบริหารความถี่ของประเทศไทยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต้องทำงานอย่างหนักท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านวิธีคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีค่ายิ่งของชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้อง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารความถี่และให้การสนับสนุน กทช. ในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ทรัพยากรความถี่ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติต่อไป

เอกสารอ้างอิง
1. John A. Stine and David L. Portigal, An Introduction to Spectrum Management, Mitre technical report, 2004.
2. Matti Salmenkaita, Jose Gimenez ans Pablo Tapia Moreno, “System and Method for Dynamic Frequency Allocation for Packet Switched Services”, Patent Application Publication, Salmenkaita et al., May 2008.
3.   Behtash Babadi and Vahid Tarokh, “A Distributed Dynamic Frequency Allocation Algorithm”, School of Engineering and Applied Sciences, Harvard University, Cambridge, MA, USA.
4.  Thomas Charles Clancy III, “Dynamic Spectrum Access in Cognitive Radio Networks”, Dissertation, University of Maryland, College Park, 2006.
5. Michele C. Farquhar, Ari Q. Fitzgerald, "Legal and regulatory issues regarding spectrum rights trading", Telecommunications Policy 27 (2003) 527-532, USA.
6. Gregory L. Rosston, "The long and winding road: the FCC paves the path with good intentions", Telecommunication Policy 27 (2003) 501-515, USA.
7. Thomas W. Hazlett, "Liberalizing US spectrum allocation", Telecommunication Policy 27 (2003) 485-499, USA.
8. DSTI/ICCP/TISP(2004)11, "Secondary markets for spectrum: Policy issues", USA.
9. Ofcom Consultation document, "Spectrum Liberalization", Nov. 2004, USA.
10. H. Eriksson, "Capacity Improvement by Adaptive Channel Allocation", IEEE Global Telecomm. Conf., pp. 1355-1359, Nov. 28-Dec. 1, 1988.
11. G. Riva, "Performance Analysis of an Improved Dynamic Channel Allocation Scheme for Cellular Mobile 74 Radio Systems", 42nd IEEE Veh. Tech. Conf., pp. 794-797, Denver 1992.
12. www.ntc.or.th
13. www.fcc.gov/
14. www.ntia.doc.gov/
15. www.ofcom.org.uk/
16. เอกสารผลการศึกษาเบื้องต้นเรื่องการบริหารคลื่นความถี่ของคณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, 2553.

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การบริหาร,ความถี่ ,Spectrum, Management
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 13 กันยายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 1140 การบริหารความถี่ จากอดีตสู่อนาคต (Spectrum Management… From the Past to the Future) /article-technology/item/1140-500
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการลูกค้า
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการลูกค้...
Hits ฮิต (17549)
ให้คะแนน
ในอดีตบริษัทจะประสบความสำเร็จได้ย่อมขึ้นกับการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและการมีนวัตกรรมใหม่ๆของผลิต ...
ซากดึกดำบรรพ์กับความอยากรู้
ซากดึกดำบรรพ์กับความอยากรู้
Hits ฮิต (2736)
ให้คะแนน
แน่นอนชื่อบทความนี้บ่งบอกอยู่แล้ว คำว่าดึกดำบรรพ์ ก็คงเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วในอดีตซึ่งเป็นอดีตที่ม ...
ปล้นธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต ตอนที่ 1
ปล้นธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต ตอนที่ 1
Hits ฮิต (50588)
ให้คะแนน
ในยุคปัจจุบันนี้ได้มีความเจริญก้าวหน้าในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้มีทั้งคนที่ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูน (limestone)...
  • Amazing Science วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ Season 2 ตอน ลูกโป่งสวรรค์...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2...
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)