logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นแบบกันเองด้วยโปรแกรมแฟลช

สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นแบบกันเองด้วยโปรแกรมแฟลช

โดย :
จิราพร ธารแผ้ว
เมื่อ :
วันเสาร์, 05 มิถุนายน 2553
Hits
17312

Flash เป็นโปรแกรมที่นิยมนำไปสร้างสรรค์ผลงานในด้าน Multimedia เช่น เว็บไซต์ เกม การนำเสนอผลงานเดิมที่โปรแกรม Flash ไม่ได้เป็นโปรแกรมสำหรับทำการ์ตูนโดยเฉพาะ   แต่เราสามารถนำมาประยุกต์สร้างการ์ตูน 2 มิติ ได้ เพราะโปรแกรมมีคุณสมบัติและเครื่องมือมราอำนวยความสะดวกในการสร้างการ์ตูนอย่างครบครัน   อีกทั้งยังสามารถวาดภาพได้อารมณ์การ์ตูนมากๆ ด้วย จึงทำให้  Flash เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่นักเรียนสร้างการ์ตูนนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ   จนเกิดเป็นการ์ตูนที่โด่งดังหลายเรื่อง เช่น Pucca, Boomba, Ninja เป็นต้น ในประเทศไทยเองก็มีผลงานที่สร้างจาก Flash เหมือนกน เช่น การ์ตูนเรื่องสู้เพื่อฝัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 การ์ตูนบุญโต หมูเพื่อซี้  และการ์ตูนไมเข้ (มิวสิควีดิโอประกอบรายการธรรมะ) ออกอากาศทางชื่อ DMC และ Magcartoon ที่เผยแพร่การ์ตูนเรื่องสั้นทางอินเทอร์เน็ต

 

หัวใจของการ์ตูนแอนิเมชั่น นอกจากการสร้างตัวละครให้น่าสนใจ และฉากที่สมจริงแล้ว   การทำภาพนิ่งที่เราเตียมไว้ให้เป็นภาพเคลื่อนไหวที่คนดูเชื่อว่ามันมีชีวิตจริงๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ยังไงก็ขาดไม่ได้   กลวิธีมีมากมาย การได้ดูวิธีสร้างการ์ตูนของคนอื่นจะทำให้เรามีเทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเอง   การดูไฟล์ของคนอื่น ก็เหมือนได้แอบเข้าไปนั่งอยู่ในห้องทำงานของเขาในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่นั่นเอง มะ...มาดูนอกห้องกันก่อน ไว้สุดท้ายค่อย download ไปดูภายในห้องกันเนอะ

 

 

เดี๋ยวชายคนนี้จะเคลื่อนที่ไหวให้เราดูกัน แต่ตอนนี้เขายังไม่พร้อมที่จะนำมาทำแอนิเมชั่น ก่อนอื่นเราจะต้องแยกชิ้นส่วนของตัวละครกันก่อน

 

 

 

 

 

ในภาพด้านขวามือ เป็นการแยกแบบพอเพียง เอาแค่พอใช้ได้ในการเคลื่อนไหวครั้งนี้   ถ้าเราต้องการจะให้ส่วนของข้อมือหรือแขน   กางหรือบิดในท่าอื่น   เราต้องแยก แขนท่อนบน แขนท่อนล่าง และข้อมือด้วยชิ้นส่วนทั้งหมดที่แยกออกมานี้   ให้เป็น   symbol ประเภท graphic หรือ movie clip ให้ registration point อยู่ตรงตำแหน่งที่เราจะใช้เป็นจุดหมุน และควรจะวางไว้คนละเลเยอร์ เพื่อสะดวกในการทำ animation เช่น แขนขวา เราต้องการจะให้เคลื่อนที่ขึ้นในท่ายกแขนขึ้นดูนาฬิกา registration point ควรจะอยู่ที่หัวไหล่ เป็นต้น

 

 

 

 

ส่วนหัวที่เป็น movie clip ชื่อ MHead movie clip ไว้ 2 ตัว คือ MBlink (ตากะพริบ) และ MMouth (ปากบ่นงึมงำ)

 

 

เราจะให้ชายคนนี้เป็นตัวละครที่รอใครสักคนมาเป็นเวลานานแล้ว   ดูนาฬิการอบแล้วรอบเล่า ใครคนนั้นก็ยังไม่มา อ๊ะ อ๊า ง่ายล่ะสิ   ถ้าทำง่ายๆ แต่ดูแล้วได้อารมณ์ว่ารอนานจริงๆ หงุดหงิดแล้วนะ ก็เรียกว่าสำเร็จล่ะ

 

 

เริ่มจากทำหัวก้มดูนาฬิกา และเงยขึ้น ก้มลงใหม่ แล้วเงยอีกครั้ง โดย
1.   สร้าง keyframe (กด f6) ที่ frame 20 และ 28
2.   ที่ frame 28 หมุนหัวให้ก้มลงตำแหน่งเหมือนดูนาฬิกา
3.   คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 20 และ 28 เลือก Create Motion Tween
4.   สร้าง keyframe ที่ frame 36 และ 43
5.   ที่ frame 36 หมุนหัวให้เงยขึ้น frame 43 หมุนให้ก้มให้ก้มลงดูนาฬิกา
6.   คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 36 และ 43 เลือก Create Motion Tween

 

 

ต่อด้วยการทำแขนยกนาฬิกาขึ้นดู เอาลง ยกขึ้นอีกครั้ง แล้วเอาลง โดย
1.   สร้าง keyframe (กด f6) ที่ frame 15 และ 24
2.   ที่ frame 24 หมุนแขนขึ้นในตำแหน่งที่รับกับส่วนหัวให้เหมือนกับยกแขนขึ้นดูนาฬิกา
3.   คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 15 และ 24 เลือก Create Motion Tween
4.   สร้าง keyframe ที่ frame 36 และ 43
5.   ที่ frame 36 หมุนแขนขึ้น frame 43 หมุนแขนลง
6.   คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 36 และ 43 เลือก Create Motion Tween

 

หากเราต้องการสร้าง keyframe ขึ้นมาใหม่โดยต้องการให้ภาพภายใน keyframe นั้น เหมือนกับ keyframe ก่อนหน้านี้ที่เคยมีมาแล้ว เราสามารถใช้วิธี Copy Frame โดยการคลิกขวาที่ keyframe ที่เป็นแม่แบบ เลือก Copy Frame (Ctrl+Alt+C) จากนั้น คลิกขวาที่ frame ที่ต้องการให้เหมือนแม่แบบ เลือก Paste Frame (Ctrl+Alt+V)

 

แค่หมุนขึ้นลง   หมุนแขนขึ้นลง   เราก็ได้ตัวละครชายขี้หงุดหงิด รอใครนานไม่ได้มาแล้ว จากนี้เราจะนำไปปรพกอบกับตัวละครอื่นในฉาก   อาจจะเป็นฉากผู้หญิงอยู่ในห้องแต่งตัว   กำลังแต่งหน้าอยู่หน้ากระจก ตัดภาพไปที่นาฬิกาแขวนผนังในห้องเธอ   บอกเวลาว่าเลยเวลานัดมานานแล้ว   ตัดภาพมาที่ชายคนนี้อีกครั้งจากยืนรอเป็นั่งรอ... แล้วแต่จะผูกให้เป็นเรื่องราวกันต่อไปตามจินตนาการของแต่ละคนจ้า จุดประกายไว้เพียงเท่านี้ก่อน

 

ถ้ายังไม่จุใจ มาดูกันต่อแถวๆ นี้เลย
http://www.kirupa.com/developer/mx/cartoon.thm (download file ตัวอย่างข้างต้นไปดู)
www.youtube.com (อย่าลืม search ทำนองว่า cartoon  animation with flash หรือคำอื่นที่ใกล้เคียง)
www.makermovies.co.uk/
http://www.hypergurl.com/blog/flash/flash-cartoons.html
http://www.cartoonsolutions.com/store/cartalog/Free-Tutorials-sp-29.html
http://www.onlinewebdirectory.com/flash-animation/animation_cartoon_flash_tutorial.html
http://www.magcartoon.com/magcartoon.com/files/main.php

 

อ้างอิง
http://www.kirupa.com/developer/mx/cartoon.thml
Narin Roungsan สร้างการ์ตูน Animation ด้วย Flash. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2551.416 หน้า.


 

 

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดลและวิชาการดอทคอม
www.il.mahidol.ac.th

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การ์ตูน,แอนิเมชั่น,โปรแกรม,แฟลช,flash
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 05 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
จิราพร ธารแผ้ว
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 369 สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นแบบกันเองด้วยโปรแกรมแฟลช /article-technology/item/369-flash
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
QR Code
QR Code
Hits ฮิต (53114)
ให้คะแนน
บาร์โค้ดนั้นในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก ในธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นเพราะ ความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นย ...
ยุคแห่งพลเมืองดิจิทัล
ยุคแห่งพลเมืองดิจิทัล
Hits ฮิต (1437)
ให้คะแนน
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้การดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร ...
WiMax : Worldwide Interoperability for Microwave Access
WiMax : Worldwide Interoperability for M...
Hits ฮิต (11533)
ให้คะแนน
WiMax Technology WiMax Technology เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็น โครงข่ายสื่อสารที่โยงใ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
  • Raspberry Pi คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับด้านการศึกษา...
  • หินอ่อน (Marble)...
  • เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)