คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
แบบฝึกหัด 8.2 1. จงเติมเครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และ เติมเครื่องหมาย หน้าข้อความ ที่ไม่ถูกต้อง … ... 1.1 การเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้นที่เป็นของแข็งกับของเหลวไม่สามารถ อธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีการชน … ... 1.2 ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้ ถ้าอนุภาคของสารตั้งต้นชนกันด้วยทิศทางที่เหมาะสม และมีพลังงานอย่างน้อยเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์ … ... 1.3 อนุภาคของสารที่ชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาเคมี แต่ละอนุภาคไม่จำ�เป็นต้องมี พลังงานเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์ 2. พิจารณาแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานของปฏิกิริยาต่อไปนี้ 2.1 พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา A + B C + D มีค่าเท่าใด พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา A + B C + D มีค่า 120 – 52 เท่ากับ 68 kJ 2.2 พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา C + D A + B มีค่าเท่าใด พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา C + D A + B มีค่า 120 – 20 เท่ากับ 100 kJ 2.3 ปฏิกิริยา A + B C + D เป็นปฏิกิริยาดูดหรือคายพลังงาน และพลังงาน ของปฏิกิริยามีค่าเท่าใด เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน และพลังงานของปฏิกิริยามีค่า 52 – 20 เท่ากับ 32 kJ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 98
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4