คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
8.3 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ทำ�การทดลอง และอธิบายผลของความเข้มข้นของสาร พื้นที่ผิวของสาร อุณหภูมิ และ ตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2. เปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยหลักที่มีผลต่ออัตราการ เกิดปฏิกิริยาเคมี 3. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการชนว่า ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุลของ สารตั้งต้นเกิดการชนกันในทิศทางที่เหมาะสมและมีพลังงานที่มากพอให้เกิดปฏิกิริยา ดังนั้นการเพิ่ม จำ�นวนครั้งของการชนในทิศทางที่เหมาะสมและมีพลังงานมากพอ จะมีผลทำ�ให้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น 2. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติหรือชีวิตประจำ�วัน เช่น ปฏิกิริยาการเกิด สนิม เพื่อให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้ปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวเกิดได้เร็วหรือช้า เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 8.4 3. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 8.4 การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วให้นักเรียนอภิปรายผลการทดลองโดยใช้คำ�ถามท้าย การทดลอง ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง ปฏิกิริยาคายพลังงาน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิจะทำ�ให้ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง ปฏิกิริยาดูดและคายพลังงาน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิจะ ทำ�ให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาตรของสารตั้งต้นที่เป็นสารละลาย จะส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น การเพิ่มปริมาตรของสารตั้งต้นที่เป็นสารละลาย ที่ไม่มีผลต่อความเข้มข้นหรือพื้นที่ผิวสัมผัส จะ ไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 101
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4