คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีจนกระทั่งไม่เห็นฟองแก๊สเกิดขึ้นในแต่ละบีกเกอร์ ไม่เท่ากัน ดังนี้ เมื่อเปรียบเทียบบีกเกอร์ใบที่ 1 และใบที่ 2 พบว่า บีกเกอร์ใบที่ 2 ซึ่งใช้ HCl เข้มข้น มากกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า แสดงว่าการเพิ่มความเข้มข้นของ HCl มีผลทำ�ให้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีนี้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบบีกเกอร์ใบที่ 1 และใบที่ 3 พบว่า บีกเกอร์ใบที่ 1 ซึ่งใช้ผง CaCO 3 ซึ่งมี พื้นที่ผิวมากกว่า ใช้เวลาน้อยกว่าบีกเกอร์ใบที่ 3 ซึ่งใช้เม็ด CaCO 3 แสดงว่าการเพิ่มพื้นที่ผิว ของ CaCO 3 ให้สัมผัสกับ HCl มากขึ้นมีผลทำ�ให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบบีกเกอร์ใบที่ 1 และใบที่ 4 พบว่า บีกเกอร์ใบที่ 4 ซึ่งมีอุณหภูมิ สูงกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า แสดงว่าการเพิ่มอุณหภูมิในการเกิดปฏิกิริยามีผลทำ�ให้อัตราการ เกิดปฏิกิริยาเคมีนี้เพิ่มขึ้น สรุปผลการทดลอง การเพิ่มความเข้มข้น การเพิ่มพื้นที่ผิวของสารตั้งต้น และการเพิ่มอุณหภูมิ เป็นปัจจัยที่ ทำ�ให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วขึ้น 4. ครูอธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดย ใช้รูป 8.8, 8.9 และ 8.10 ประกอบการอธิบายตามลำ�ดับ จากนั้นครูยกตัวอย่างความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำ�วัน ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 5. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 104
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4