คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
1. เมื่อใส่ผงแมกนีเซียม 0.5 กรัม (หนึ่งเมล็ดถั่วเขียว) ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริกที่มี ความเข้มข้น 1.0 โมลาร์ ปริมาตร 10 มิลลิลิตร และ 20 มิลลิลิตร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ในสารละลายทั้งสองต่างกันหรือไม่ อย่างไร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในสารละลายทั้งสองไม่ต่างกัน เพราะสารละลายทั้งสองมี ความเข้มข้นเท่ากัน 2. หากทำ�การทดลองดังข้อ 1 โดยใช้สารละลาย ดังต่อไปนี้ • สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 1.0 โมลาร์ ปริมาตร 10 มิลลิลิตร • สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 0.5 โมลาร์ ปริมาตร 20 มิลลิลิตร • สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 0.2 โมลาร์ ปริมาตร 50 มิลลิลิตร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในสารละลายใดมีค่ามากที่สุด เพราะเหตุใด สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 1.0 M ปริมาตร 10 mL มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มากที่สุด เพราะใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกที่มีความเข้มข้นมากที่สุด ชวนคิด 6. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า นอกจากความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ แล้วยังมีปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากนั้นครูเขียนสมการเคมีแสดงการสลายตัวของไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ดังนี้ 2H 2 O 2 (aq) 2H 2 O(l) + O 2 (g) ครูชี้ให้เห็นว่าปฏิกิริยานี้มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นสารตั้งต้น จากนั้นให้นักเรียนทำ� กิจกรรม 8.5 การออกแบบและทดลองเพื่อศึกษาผลของการเติมสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ ต่ออัตราการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แล้วให้นักเรียนอภิปรายผลการทดลองโดยใช้คำ�ถาม ท้ายการทดลอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 105
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4