คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

วิธีทดลอง 1. เติม H 2 O 2 ปริมาตร 10 mL ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 และ 2 2. เติม KI 0.5 mL ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 3. เติม H 2 O 0.5 mL ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2 4. สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผลการทดลอง ตัวอย่างผลการทดลอง ในเวลาที่เท่ากันเมื่อเติม KI ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 พบว่า เกิดฟองแก๊สปริมาณมากในขณะที่ บีกเกอร์ใบที่ 2 สังเกตเห็นฟองแก๊สเกิดขึ้นเล็กน้อยหรืออาจไม่เห็นฟองแก๊สเลย โดยในระหว่าง ที่ปฏิกิริยาดำ�เนินไป สารละลายในบีกเกอร์ใบที่ 1 เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วกลับเป็นสารละลาย ใสไม่มีสีเหมือนเดิม ส่วนสารละลายในบีกเกอร์ใบที่ 2 เป็นสารละลายใสไม่มีสีตลอดเวลา อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม H 2 O 2 สลายตัว ดังสมการเคมีี 2H 2 O 2 (aq) 2H 2 O(l) + O 2 (g) ปฏิกิริยาการสลายตัวของ H 2 O 2 สามารถสังเกตได้จาก O 2 ที่เกิดขึ้น โดยฟองแก๊สจะ หมดไปเมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุดลง เมื่อเติม KI ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 พบว่า เกิดฟองแก๊สปริมาณมากกว่าบีกเกอร์ใบที่ 2 ในเวลา ที่เท่ากัน แสดงว่า ปฏิกิริยาในบีกเกอร์ใบที่ 1 เกิดเร็วกว่าใบที่ 2 มาก โดยในระหว่างที่ปฏิกิริยา ดำ�เนินไป สารละลายในบีกเกอร์ใบที่ 1 เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วกลับเป็นสารละลายใสไม่มีสี เหมือนเดิม ส่วนสารละลายในบีกเกอร์ใบที่ 2 เป็นสารละลายใสไม่มีสีตลอดเวลา แสดงว่า KI เข้าไปมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาด้วย สรุปผลการทดลอง เมื่อเติม KI ลงใน H 2 O 2 ทำ�ให้อัตราการสลายตัวของ H 2 O 2 สูงขึ้น 7. ครูอธิบายเชื่อมโยงจากกิจกรรมว่า โพแทสเซียมไอโอไดด์ทำ�ให้ปฏิกิริยาการสลายตัวของ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เกิดได้เร็วขึ้น ซึ่งสารที่เติมลงไปแล้วทำ�ให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วขึ้นเรียกว่า ตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นโพแทสเซียมไอโอไดด์จึงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 109

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4