คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

8. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาจะเข้าไปมีส่วนร่วมในปฏิกิริยา แต่เมื่อปฏิกิริยา สิ้นสุดแล้วจะได้ตัวเร่งปฏิกิริยากลับคืนมาเหมือนเดิม ซึ่งจากกิจกรรมจะเห็นว่า ระหว่างปฏิกิริยา ดำ�เนินไปสารละลายในบีกเกอร์ที่เติมโพแทสเซียมไอโอไดด์เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุด จะได้โพแทสเซียมไอโอไดด์กลับมาเหมือนเดิมจึงสังเกตเห็นเป็นสารละลายใสไม่มีสี ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เมื่อเติมโพแทสเซียมไอโอไดด์ แสดงดังสมการเคมี H 2 O 2 (aq) + I - (aq) H 2 O(l) + OI - (aq) OI - (aq) + H 2 O 2 (aq) O 2 (g) + I - (aq) + H 2 O(l) 9. ครูอธิบายว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาจะทำ�ให้พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาลดลงแต่พลังงานของ ปฏิกิริยาไม่เปลี่ยนแปลง โดยใช้รูป 8.11 ประกอบการอธิบาย จากนั้นครูยกตัวอย่างความรู้เกี่ยวกับปัจจัย ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำ�วัน ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน แล้วให้ความรู้ เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวหน่วงปฏิกิริยา 10. ครูอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติของสารที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่แตกต่างกัน เช่น ปฏิกิริยาการเผาไหม้ถ่านและเพชรซึ่งเป็นคาร์บอนที่มีอัญรูปแตกต่างกัน ซึ่งมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แตกต่างกัน 11. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงปัจจัยหลักที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 12. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 8.6 เพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการที่เกิดขึ้นใน ชีวิตประจำ�วันหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากนั้นให้ นักเรียนสะท้อนความรู้ความเข้าใจ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปความรู้ และนำ�เสนอในรูปแบบที่ สามารถสร้างความเข้าใจให้กับผู้อื่นได้ดี เช่น แผนผัง แผ่นพับ วีดิทัศน์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 110

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4