คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
2. เมื่อนำ�สาร A และ สาร B ที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ มาทำ�ปฏิกิริยากันเป็นเวลา 10 นาที พบว่าได้ผลิตภัณฑ์เป็น A 2 B ซึ่งมีความเข้มข้น ดังตาราง 2.1 เขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น 2A + B A 2 B 2.2 อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นกับความเข้มข้นเริ่มต้นของสาร A และ B อย่างไร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นกับความเข้มข้นเริ่มต้นของสาร A แต่ไม่ขึ้นกับความเข้มข้น เริ่มต้นของสาร B เมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นของสาร A ลดลง อัตราการเกิดปฏิกิริยา เคมีจึงลดลง 3. พิจารณาปฏิกิริยาระหว่างแก๊สไฮโดรเจน (H 2 ) กับแก๊สไอโอดีน (I 2 ) ที่อุณหภูมิ 458 องศาเซลเซียส ดังสมการเคมี H 2 (g) + I 2 (g) 2HI(g) เมื่อเพิ่มปริมาณแก๊สไฮโดรเจนเป็น 2 เท่า โดยปริมาตรของภาชนะคงที่ พบว่าอัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าลดปริมาตรของภาชนะลงครึ่งหนึ่งโดยปริมาณของแก๊ส เท่าเดิมจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร เพราะเหตุใด อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากการลดปริมาตรของภาชนะลงมีผลทำ�ให้ความ เข้มข้นของแก๊สไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการเพิ่มปริมาณแก๊สไฮโดรเจน การทดลองที่ ความเข้มข้น (M) A เริ่มต้น B เริ่มต้น A 2 B ที่ 10 นาที 1 1.00 0.50 0.40 2 1.00 1.00 0.40 3 1.00 1.50 0.40 4 0.50 0.50 0.20 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 114
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4