คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
ถ้าเริ่มต้นปฏิกิริยาเคมีด้วยความเข้มข้นของสาร A เท่ากัน อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของ A B และ A C เท่ากันหรือไม่ อย่างไร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของ A B มากกว่า A C เนื่องจากพลังงาน ก่อกัมมันต์ของ A B มีค่าน้อยกว่าพลังงานก่อกัมมันต์ของ A C 4. ปฏิกิริยาการสลายตัวของโพแทสเซียมคลอเรต (KClO 3 ) ได้ผลิตภัณฑ์เป็นโพแทสเซียม คลอไรด์ (KCl) และแก๊สออกซิเจน (O 2 ) ดังสมการเคมี 2KClO 3 (s) 2KCl(s) + 3O 2 (g) ปฏิกิริยาดังกล่าวต้องมีการให้ความร้อนและใช้แมงกานีส(IV)ออกไซด์ (MnO 2 ) เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยา 4.1 ในการศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีควรติดตามโดยการวัดปริมาณของสารใด เพราะเหตุใด O 2 เนื่องจากเป็นแก๊สแยกออกจากสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ได้ ส่วน KClO 3 และ KCl เป็นของแข็งที่ผสมกันอยู่จึงหามวลของสารแต่ละชนิดได้ยาก 4.2 ถ้าต้องการให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้นอีก ควรทำ�อย่างไร บด KClO 3 ให้ละเอียดขึ้น และ/หรือ เพิ่มอุณหภูมิในการให้ความร้อน 4.3 ถ้าทำ�การทดลองในภาชนะขนาด 10.0 ลิตร เมื่อทำ�การทดลองผ่านไป 10 นาที ที่ อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส วัดความดันภายในภาชนะได้เท่ากับ 11.98 บรรยากาศ จงคำ�นวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ยของปฏิกิริยานี้ เมื่อกำ�หนดให้ ปริมาตร ของโพแทสเซียมคลอเรตและโพแทสเซียมคลอไรด์ มีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ ปริมาตรของภาชนะ หาจำ�นวนโมลของแก๊สออกซิเจนที่เกิดขึ้น จาก PV = nRT n = PV RT = (11.98 atm)(10.0 L) = 4.45 mol (0.0821 L • atm/mol • K)(55 + 273 K) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 118
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4