คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
6.1 อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นเริ่มต้นของสารตั้งต้นใด ทราบได้ อย่างไร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของทั้งสาร A และ B ทราบได้จาก การทดลองที่ 1 4 และ 5 เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นตัวใดตัวหนึ่ง เวลาที่ใช้ใน การเกิดสาร P ลดลง 6.2 สาร X ทำ�หน้าที่ใดในปฏิกิริยานี้ ตัวเร่งปฏิกิริยา 6.3 เพราะเหตุใดการทดลองที่ 2 จึงใช้เวลาน้อยกว่าการทดลองที่ 1 การทดลองที่ 2 ใช้อุณหภูมิสูงกว่าการทดลองที่ 1 7. ในการทดลองทำ�จรวดจากขวดน้ำ�พลาสติกทำ�ได้โดยนำ�ขวดน้ำ�มาตกแต่งเป็นรูปจรวด จากนั้นเติมน้ำ�ส้มสายชู (CH 3 COOH) ลงไปประมาณหนึ่งในสี่ของขวด และนำ�โซเดียม ไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO 3 ) ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาห่อด้วยกระดาษชำ�ระและ อัดไว้ที่ปากขวด ปิดปากขวดให้เรียบร้อย จากนั้นคว่ำ�ขวด น้ำ�ส้มสายชูจะทำ�ให้กระดาษทิชชู เปียกและแตกออก น้ำ�ส้มสายชูจะทำ�ปฏิกิริยากับโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ได้แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) ดังสมการเคมี CH 3 COOH(aq) + NaHCO 3 (s) CH 3 COONa(aq) + H 2 O(l) + CO 2 (g) การปรับปรุงในข้อใด จะทำ�ให้เกิดแรงดันจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น 7.1 เพิ่มปริมาณโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต อัตราการเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เพราะการเพิ่มปริมาณโซเดียม ไฮโดรเจนคาร์บอเนตเป็นการเพิ่มปริมาณสารตั้งต้น 7.2 เพิ่มความเข้มข้นของน้ำ�ส้มสายชู อัตราการเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เพราะอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นกับ ความเข้มข้นของสารตั้งต้น 7.3 เปลี่ยนขวดน้ำ�พลาสติกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตราการเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เท่าเดิม เนื่องจากปริมาณสารตั้งต้นเท่าเดิม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 120
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4