คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

สาระสำ�คัญ การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ในระบบปิด ที่สภาวะสมดุลมีปริมาณสารในระบบคงที่ เนื่องจาก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอด เวลา เรียกว่า สมดุลพลวัต สำ�หรับสมดุลพลวัตของปฏิกิริยาเคมีที่ผันกลับได้ เรียกว่า สมดุลเคมี ซึ่งเป็น สภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ที่สมดุล ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์กับสารตั้งต้นมีความสัมพันธ์ที่เป็นค่าคงที่ เรียกว่า ค่าคงที่สมดุลซึ่งเป็นค่าเฉพาะของแต่ละปฏิกิริยา ณ อุณหภูมิหนึ่ง ๆ ค่าคงที่สมดุลสามารถนำ�มาใช้ในการ คำ�นวณปริมาณของผลิตภัณฑ์หรือสารตั้งต้นที่สมดุลได้ นอกจากนี้ค่าคงที่สมดุลสามารถใช้บ่งบอกว่า ปฏิกิริยาดำ�เนินไปข้างหน้าเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากหรือน้อยเมื่อเทียบกับสารตั้งต้น ค่าคงที่สมดุลมี ความสัมพันธ์กับเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมี และค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาหลายขั้นตอน หาได้จาก ผลคูณของค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาย่อยที่นำ�สมการเคมีมารวมกัน สมดุลเคมีอาจถูกรบกวนได้โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร ความดัน หรืออุณหภูมิ ซึ่งปฏิกิริยาเคมีจะปรับตัวไปในทิศทางที่ลดผลของการรบกวนเพื่อเข้าสู่สมดุลอีกครั้งตามหลักของ เลอชาเตอลิเอ โดยมีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ทำ�ให้ค่าคงที่สมดุลเปลี่ยนแปลง หลักการของสมดุลเคมีสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม และใช้อธิบายกระบวนการ บางอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตและปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 24 ชั่วโมง 9.1 สภาวะสมดุล 8 ชั่วโมง 9.2 ค่าคงที่สมดุล 8 ชั่วโมง 9.3 ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุล 6 ชั่วโมง 9.4 สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม 2 ชั่วโมง ระบบเปิดและระบบปิด อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาคายพลังงานและปฏิกิริยาดูดพลังงาน ปริมาณสัมพันธ์ ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยโมลาร์ เวลาที่ใช้ ความรู้ก่อนเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 126

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4