คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
9.1 สภาวะสมดุล จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ทดสอบและอธิบายความหมายของปฏิกิริยาผันกลับได้และสภาวะสมดุล 2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และอัตรา การเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ เมื่อเริ่มปฏิกิริยาจนกระทั่งระบบอยู่ในสมดุล ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารที่สังเกตเห็นได้ง่ายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดขึ้นค่อนข้างเร็วและดำ�เนินไปในทิศทางเดียว เช่น การเผาไหม้น้ำ�มันเชื้อเพลิง การบูดเน่าของอาหาร การระเหิดของน้ำ�แข็งแห้ง จากนั้นยกตัวอย่างปรากฏการณ์ในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำ�วันที่ดูเสมือน ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสารเกิดขึ้น เช่น หินงอกหินย้อยที่พบเห็นในถ้ำ� ระดับน้ำ�ที่บรรจุอยู่ใน ภาชนะปิด แล้วใช้คำ�ถามนำ�ว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงของสารเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะ เหตุใดจึงไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และหากต้องการตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ สารอยู่หรือไม่จะทำ�ได้อย่างไร ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง ปฏิกิริยาผันกลับได้ สารตั้งต้นเกิดปฏิกิริยาไป ข้างหน้าจนกระทั่งสารตั้งต้นหมด แล้วจึงเกิด ปฏิกิริยาย้อนกลับ ปฏิกิริยาผันกลับได้ สารตั้งต้นเกิดปฏิกิริยาไป ข้างหน้ากลายเป็นผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ เกิดขึ้นสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ โดยไม่ต้อง เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าจนสารตั้งต้นหมด ที่สภาวะสมดุล ไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น ทำ�ให้สาร ในระบบมีปริมาณคงที่ ที่สภาวะสมดุล มีปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยา ย้อนกลับเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปฏิกิริยาไป ข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับมีอัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีเท่ากัน จึงทำ�ให้สารในระบบมีปริมาณ คงที่ ที่สภาวะสมดุล สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์มี ความเข้มข้นเท่ากัน ที่สภาวะสมดุล อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และปฏิกิริยาย้อนกลับมีค่าเท่ากัน แต่สารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์อาจมีความเข้มข้นเท่ากันหรือไม่ก็ได้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 128
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4