คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

การเตรียมล่วงหน้า 1. เตรียมFe(NO 3 ) 3 0.05mol/Lปริมาตร50mLโดยชั่งไอร์ออน(III)ไนเทรตนาโนไฮเดรต (Fe(NO 3 ) 3 • 9H 2 O) 1.01 g ละลายในน้ำ�กลั่นให้ได้ปริมาตร 50 mL 2. เตรียม (NH 4 ) 2 Fe(SO 4 ) 2 0.05 mol/L ปริมาตร 50 mL โดยชั่งแอมโมเนียมไอร์ออน (II) ซัลเฟต  เฮกซะไฮเดรต ((NH 4 ) 2 Fe(SO 4 ) 2 • 6H 2 O) 0.98 g ละลายในน้ำ�กลั่นให้ได้ ปริมาตร 50 mL 3. เตรียม KI 0.05 mol/L ปริมาตร 50 mL โดยชั่ง KI 0.42 g ละลายในน้ำ�กลั่น ให้ได้ปริมาตร 50 mL 4. เตรียม NaOH 0.1 mol/L ปริมาตร 25 mL โดยชั่ง NaOH 0.1 g ละลายในน้ำ�กลั่น ให้ได้ปริมาตร 25 mL 5. เตรียม K 3 Fe(CN) 6 0.1 mol/L ปริมาตร 25 mL โดยชั่ง K 3 Fe(CN) 6 0.82 g ละลาย ในน้ำ� กลั่นให้ได้ปริมาตร 25 mL 6. เตรียม AgNO 3 0.1 mol/L ปริมาตร 25 mL โดยชั่ง AgNO 3 0.42 g ละลายใน น้ำ�กลั่นให้ได้ปริมาตร 25 mL 7. เตรียมน้ำ�แป้งสุก 1%w/v ปริมาตร 25 mL โดยชั่งแป้งมันประมาณ 0.25 g (1 ช้อนเบอร์ 1) ละลายในน้ำ�กลั่น 5 mL แล้วเทน้ำ�เดือดลงในน้ำ�แป้งให้มีปริมาตร 25 mL คนให้ทั่วจนแป้งสุก สารที่เตรียมได้ในข้อ   1–7   สามารถใช้ได้กับการทดลองของนักเรียน  ประมาณ 50 กลุ่ม ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู 1. K 3 Fe(CN) 6 เมื่อได้รับความร้อนหรืออยู่ในกรดแก่จะเกิดแก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN)   ซึ่งเป็นพิษ   ครูจึงควรเตรียมภาชนะสำ�หรับทิ้งสารจากการทดลอง   และเตือน ให้นักเรียนทิ้งสารในภาชนะที่เตรียมไว้ 2. ไม่ควรใช้ Fe(SO 4 ) แทน (NH 4 ) 2 Fe(SO 4 ) 2 เนื่องจากถูกออกซิไดซ์เป็น Fe 3+ ได้ง่าย 3. ควรเตรียมสารละลาย (NH 4 ) 2 Fe(SO 4 ) 2 และ KI เมื่อต้องการจะใช้ 4. NaOH   ทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับ   Fe 3+    ได้ตะกอนสีน้ำ�ตาลแดง   และทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับ Fe 2+ ได้ตะกอนสีเขียว ดังนั้นในการทดสอบตอนที่ 2 และ 3 ด้วย NaOH อาจมีตะกอน สีเขียวเกิดขึ้นด้วย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 133

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4