คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม จากการทดสอบในตอนที่ 1 พบว่า • Fe(NO 3 ) 3 ทำ�ปฏิกิริยากับ NaOH เกิดตะกอนสีน้ำ�ตาลแดง • (NH 4 ) 2 Fe(SO 4 ) 2 ทำ�ปฏิกิริยากับ K 3 Fe(CN) 6 เกิดตะกอนสีน้ำ�เงิน • KI ทำ�ปฏิกิริยากับ AgNO 3 เกิดตะกอนสีเหลืองอ่อน • I 2 ทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ�แป้งสุก ได้สารสีน้ำ�เงินเข้ม ดังนั้นสามารถใช้ผลการสังเกตในการทดสอบ ตอนที่ 1 เพื่อยืนยันการมีอยู่ของ Fe 3+ Fe 2+ I - และ I 2 ในการทดสอบตอนที่ 2 และ 3 ได้ การทดสอบในตอนที่ 2 และ 3 ให้ผลการทดลองในแต่ละคอลัมน์เหมือนกับการ ทดสอบในตอนที่ 1 แสดงว่าสารละลายผสมในตอนที่ 2 และ 3 มี Fe 3+ Fe 2+ I - และ I 2 เป็น องค์ประกอบ สารละลายผสมในตอนที่ 2 ซึ่งเกิดจากการผสมกันระหว่าง Fe(NO 3 ) 3 กับ KI เขียน สมการเคมีแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ 2Fe 3+ (aq) + 2I - (aq) 2Fe 2+ (aq) + I 2 (aq) สารละลายผสมในตอนที่ 3 ซึ่งเกิดจากการผสมกันระหว่าง (NH 4 ) 2 Fe(SO 4 ) 2 กับ I 2 เขียน สมการเคมีแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ 2Fe 2+ (aq) + I 2 (aq) 2Fe 3+ (aq) + 2I - (aq) นั่นคือ ปฏิกิริยาเคมีของตอนที่ 2 และ 3 มีความสัมพันธ์กัน โดย Fe 3+ และ I - ซึ่งเป็น สารตั้งต้นของปฏิกิริยาเคมีในตอนที่ 2 เป็นผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาเคมีในตอนที่ 3 และ Fe 2+ และ I 2 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาเคมีในตอนที่ 2 เป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาเคมีในตอน ที่ 3 ดังนั้นน่าจะมีสมดุลเกิดขึ้น เพราะหลังการผสมสารเข้าด้วยกัน พบว่าสารละลายแต่ละ หลอดมีทั้งสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ทุกสารอยู่ด้วยกัน และเมื่อตั้งไว้สีของสารละลายคงที่ แสดงว่าความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดคงที่ สรุปผลการทำ�กิจกรรม Fe 3+ ทำ�ปฏิกิริยากับ I - ได้ผลิตภัณฑ์เป็น Fe 2+ และ I 2 ส่วน Fe 2+ ทำ�ปฏิกิริยากับ I 2 ได้ ผลิตภัณฑ์เป็น Fe 3+ และ I - แสดงว่าปฏิกิริยาทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน โดยสารตั้งต้นของ ปฏิกิริยาหนึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ของอีกปฏิกิริยาหนึ่ง ดังนั้นปฏิกิริยาดังกล่าวน่าจะมีสมดุล เกิดขึ้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 136
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4