คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

เวลา (ชั่วโมง) ระบบที่ 2 อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม ปฏิกิริยาเคมีนี้เป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ เนื่องจาก X 2 ทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับ Y 2 ได้ X 3 Y ขณะเดียวกัน X 3 Y สามารถเกิดเป็น X 2 และ Y 2 ได้ เขียนสมการเคมีได้ดังนี้ 3X 2 + Y 2 2X 3 Y หรือ 2X 3 Y 3X 2 + Y 2 จากกราฟ เมื่อเริ่มต้นปฏิกิริยาความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง ส่วนความเข้มข้นของ ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น จนความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เริ่มคงที่ ณ เวลา 6 และ 5 ชั่วโมง ในระบบที่ 1 และ 2 ตามลำ�ดับ แสดงว่าระบบทั้งสองเข้าสู่สมดุล ณ เวลาดังกล่าว สรุปผลการทำ�กิจกรรม ปฏิกิริยาผันกลับได้ในระบบปิด   เมื่อเริ่มปฏิกิริยาสารตั้งต้นเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง   ในขณะเดียวกันความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น จนกระทั่งความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เริ่มคงที่ แสดงว่าระบบเข้าสู่สมดุลแล้ว 9. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ) และแก๊สไดไนโตรเจน เตตรอกไซด์ (N 2 O 4 ) แล้วนำ�อภิปรายโดยใช้คำ�ถามว่า ถ้าเริ่มต้นปฏิกิริยาโดยใช้ NO 2 หรือ N 2 O 4 หรือ สารทั้งสองชนิด ระบบใดสามารถเข้าสู่สมดุลได้ พร้อมทั้งให้นักเรียนพิจารณารูป 9.3 เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าปฏิกิริยาผันกลับได้ใด ๆ ในระบบปิด ไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยสารใด ก็สามารถเข้าสู่ สมดุลได้ 10. ครูอธิบายเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิกิริยาจนเข้าสู่สมดุล โดยใช้รูป 9.4 ประกอบการอธิบาย 11. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ความเข้มข้น (mol/L) 0 1 2 3 4 5 6 7 8 X 2 Y 2 X 3 Y 3.50 3.00 2.50 2.00 1.50 1.00 0.50 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 139

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4