คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
2.2 ระบบเข้าสู่สมดุลที่เวลาประมาณเท่าใด ระบบเข้าสู่สมดุลประมาณนาทีที่ 6 2.3 ที่สมดุล สารละลายมีสารใดอยู่บ้าง สาร X และ Y 2.4 เปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ที่เวลา 1 นาที และ 10 นาที นาทีที่ 1 อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้ามีค่าสูงกว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ เนื่องจากช่วงแรกสารตั้งต้นมีความเข้มข้นมาก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีความเข้มข้นน้อย นาทีที่ 10 อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ เนื่องจากระบบอยู่ในสมดุล 3. พิจารณาการทดลองและผลการทดลองต่อไปนี้ เมื่อนำ�คอปเปอร์(II)ซัลเฟต (CuSO 4 ) มาละลายน้ำ� จะได้สารละลายเตตระอาควาคอปเปอร์ (II)ไอออน ([Cu(H 2 O) 4 ] 2+ ) ซึ่งมีสีฟ้า และเมื่อนำ�สารละลายสีฟ้ามาหยดสารละลาย กรดไฮโดรคลอริก (HCl) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นเตตระคลอโรคิวเปรต(II)ไอออน ([CuCl 4 ] 2- ) ซึ่งมีสีเหลือง ส่งผลให้สังเกตเห็นสารละลายเป็นสีเขียว ถ้าแบ่งสารละลายสีเขียวมาหยดน้ำ� จะได้สารละลายสีฟ้า แต่ถ้าหยดกรดไฮโดรคลอริกจะได้สารละลายสีเหลือง 3.1 การทดลองนี้เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาผันกลับได้หรือไม่ ทราบได้อย่างไร ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ เนื่องจากมีทั้งปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยา ย้อนกลับ โดยสารละลาย [Cu(H 2 O) 4 ] 2+ เมื่อนำ�ไปหยด HCl เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ได้ [CuCl 4 ] 2- และได้สารละลายเป็นสีเขียว เมื่อนำ�สารละลายสีเขียวไปหยดน้ำ� ได้สารละลาย สีฟ้า แสดงว่าเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ได้ [Cu(H 2 O) 4 ] 2+ แต่ถ้านำ�สารละลายสีเขียวไปหยด HCl ได้สารละลายสีเหลือง แสดงว่าเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ได้ [CuCl 4 ] 2- 3.2 เขียนและดุลสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาเคมีในการทดลองนี้ [Cu(H 2 O) 4 ] 2+ (aq) + 4Cl - (aq) [CuCl 4 ] 2- (aq) + 4H 2 O(l) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 143
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4