คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

8. ครูยกตัวอย่างสมการเคมีที่มีการกลับข้างสมการ การคูณเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมี และ การรวมสมการเคมี แล้วให้นักเรียนเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุลในแต่ละปฏิกิริยาเคมี ซึ่งควรสรุปได้ดังนี้ - เมื่อกลับข้างสมการเคมี ค่าคงที่สมดุลจะเป็นส่วนกลับของค่าคงที่สมดุลเดิม - เมื่อมีการคูณเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีด้วย n ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเคมีจะมีค่า เท่ากับค่าคงที่สมดุลเดิมยกกำ�ลัง n - เมื่อมีการรวมสมการเคมี ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเคมีรวมจะมีค่าเท่ากับผลคูณของ ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเคมีที่มารวมกัน ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนเลขสัมประสิทธิ์มีผลต่อค่าคงที่สมดุล ดังนั้นการระบุค่าคงที่ สมดุลจึงต้องแสดงสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมีนั้นด้วย 9. ครูอธิบายการคำ�นวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของสารในปฏิกิริยาหลาย ขั้นตอน โดยใช้ตัวอย่าง 10 ประกอบการอธิบาย 10. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.2 เพื่อทบทวนความรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล 1. ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี การคำ�นวณค่าคงที่สมดุลและ ความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล และคำ�นวณค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของปฏิกิริยาหลาย ขั้นตอน จากการทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ 2. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด 3. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป และการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการ แก้ปัญหา จากการอภิปราย 4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากการทำ�แบบฝึกหัด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 151

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4