คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

9.3 ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุล 9.3.1 ความเข้มข้น 9.3.2 อุณหภูมิ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลและค่าคงที่สมดุลของระบบ 2. ใช้หลักของเลอชาเตอลิเอในการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อสมดุลของระบบ ถูกรบกวน ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูนำ�เข้าสู่ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลของปฏิกิริยาโดยให้ความรู้ว่า สมดุลของปฏิกิริยาอาจถูก รบกวนได้ด้วยปัจจัยบางประการ ซึ่งมีผลทำ�ให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ที่สมดุล เปลี่ยนแปลงไป จากนั้นใช้คำ�ถามนำ�ว่า ปัจจัยใดบ้างที่สามารถรบกวนสมดุลของปฏิกิริยาได้ 2. ครูใช้คำ�ถามว่า ที่สมดุล การเปลี่ยนความเข้มข้นของสารมีผลต่อสมดุลหรือไม่ อย่างไร จากนั้นครูอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารละลายกรดกับสารในกลุ่มแอนโทไซยานินใน ดอกอัญชัน และการแตกตัวของกรดไฮโดรคลอริกเมื่อละลายน้ำ� รวมทั้งปฏิกิริยาเคมีระหว่างไฮโดร เนียมไอออนกับไฮดรอกไซด์ไอออน แล้วให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 9.4 การทดลองผลของความเข้มข้น ของสารต่อสมดุล และให้นักเรียนอภิปรายผลการทดลองโดยใช้คำ�ถามท้ายการทดลอง ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงความดัน มีผลต่อสมดุลของ ทุกปฏิกิริยาที่มีสารอยู่ในสถานะแก๊ส ปฏิกิริยาเคมีที่มีสารอยู่ในสถานะแก๊ส ถ้า ผลรวมของเลขสัมประสิทธิ์ของสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์ในสถานะแก๊สเท่ากัน การ เปลี่ยนแปลงความดันจะไม่มีผลต่อสมดุล การรบกวนสมดุลด้วยการเปลี่ยนแปลง ความเข้มข้น ความดัน และอุณหภูมิทำ�ให้ ค่าคงที่สมดุลมีการเปลี่ยนแปลง การรบกวนสมดุลด้วยการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิเท่านั้นที่ทำ�ให้ค่าคงที่สมดุลมีการ เปลี่ยนแปลง การเติมตัวเร่งปฏิกิริยา ทำ�ให้ได้ผลิตภัณฑ์ มากขึ้น การเติมตัวเร่งปฏิกิริยาทำ�ให้ปฏิกิริยาเข้าสู่ สมดุล เ ร็วขึ้น แต่ไม่ทำ � ให้ปริมาณของ ผลิตภัณฑ์และค่าคงที่สมดุลเพิ่มขึ้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 158

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4