คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
ตัวอย่างผลการทดลอง ผลการทดลองแสดงดังรูป อภิปรายผลการทดลอง สารละลายในหลอดที่ 1 ประกอบด้วยน้ำ�อัญชัน HCl และน้ำ� ได้สารละลายสีม่วงน้ำ�เงิน แสดงว่าในสารละลายมีแอนโทไซยานินในรูปของ A (สีน้ำ�เงิน) อยู่ในสมดุลกับ AH + (สีแดง) เมื่อเทียบกับหลอดที่ 1 การเติม HCl ลงในหลอดที่ 2 เป็นการเพิ่ม H 3 O + ซึ่งทำ�ให้ได้ สารละลายสีม่วงแดง แสดงว่า H 3 O + ทำ�ให้ความเข้มข้นของ AH + เพิ่มขึ้น และความเข้มข้น ของ A ลดลง ในทำ�นองเดียวกัน การเติม NaOH ลงในหลอดที่ 3 เป็นการลด H 3 O + (โดยทำ�ปฏิกิริยา กับ OH - ที่เติมลงไป) ซึ่งทำ�ให้ได้สารละลายสีน้ำ�เงิน แสดงว่าความเข้มข้นของ A เพิ่มขึ้น และความเข้มข้นของ AH + ลดลง ดังนั้นการเพิ่มหรือลด H 3 O + ทำ�ให้ความเข้มข้นของ A และ AH + เปลี่ยนแปลงไป แสดงว่าการรบกวนสมดุลโดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารใดสารหนึ่งในปฏิกิริยา ทำ�ให้ปฏิกิริยาปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ ซึ่งสังเกตได้จากสีของสารละลายไม่เปลี่ยนแปลงอีก เมื่อเวลาผ่านไป หลอดที่ สารที่เติม การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ หลังเติมสาร วางไว้ 1 นาที 1 น้ำ�กลั่น สารละลายเปลี่ยนสีจากสีม่วงเป็น ม่วงน้ำ�เงิน สารละลายมีสีม่วงน้ำ�เงิน 2 HCl สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็น ม่วงแดง สารละลายมีสีม่วงแดง 3 NaOH สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นน้ำ�เงิน สารละลายมีสีน้ำ�เงิน น้ำ�ดอกอัญชัน หลอดที่ 1 หลอดที่ 2 หลอดที่ 3 เติม HCl สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 161
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4