คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
5. ครูให้นักเรียนพิจารณาตาราง 9.3 แล้วร่วมกันสรุปผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ สารที่สมดุลต่อค่าคงที่สมดุล จากนั้นใช้ตัวอย่าง 11 อธิบายการคำ�นวณความเข้มข้นที่สมดุลใหม่เมื่อมี การเพิ่มความเข้มข้นของสารใดสารหนึ่งในปฏิกิริยา โดยเน้นให้สังเกตว่าความเข้มข้นที่สมดุลใหม่ของ สารที่เพิ่มหรือลดความเข้มข้นจะอยู่ระหว่างความเข้มข้นของสารนั้นที่สมดุลเดิมกับความเข้มข้นเมื่อ เริ่มรบกวนสมดุล โดยใช้ค่าที่ได้จากการคำ�นวณและรูป 9.5 ประกอบการอธิบาย 6. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ตรวจสอบความเข้าใจ สมดุลของปฏิกิริยาเคมีระหว่างไอร์ออน (III)ไอออน (Fe 3+ ) และไทโอไซยาเนตไอออน (SCN - ) ถ้ามีการเพิ่มหรือลด [FeSCN] 2+ จะมีผลต่อความเข้มข้นของสารอื่นที่สมดุลอย่างไร เมื่อเพิ่ม [FeSCN] 2+ ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ในทิศทางที่ทำ�ให้ความเข้มข้นของ [FeSCN] 2+ ลดลง โดยเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ทำ�ให้ความเข้มข้นของ Fe 3+ และ SCN - เพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการลด [FeSCN] 2+ ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ในทิศทางที่ทำ�ให้ความเข้มข้นของ [FeSCN] 2+ เพิ่มขึ้น โดยเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ทำ�ให้ความเข้มข้นของ Fe 3+ และ SCN - ลดลง ตรวจสอบความเข้าใจ ปฏิกิริยา Fe 3+ (aq) + SCN - (aq) [FeSCN] 2+ (aq) ที่ 25 องศาเซลเซียส ถ้าที่สมดุลมี ความเข้มข้นของไอร์ออน(III)ไอออน (Fe 3+ ) และไทโอไซยาเนตไอออน (SCN - ) เท่ากับ 0.200 โมลต่อลิตร และไทโอไซยาเนโตไอร์ออน(III)ไอออน ([FeSCN] 2+ ) 5.68 โมลต่อลิตร เมื่อลด ความเข้มข้นของไอร์ออน(III)ไอออนจาก 0.200 โมลต่อลิตร เป็น 0.100 โมลต่อลิตร ความเข้มข้นที่สมดุลใหม่ของสารแต่ละชนิดมีเท่าใด เมื่อลดความเข้มข้นของ Fe 3+ ในระบบ ระบบจะปรับตัวไปในทิศทางที่เพิ่มความเข้มข้นของ Fe 3+ จึงกำ�หนดให้ Δ [Fe 3+ ] = + x mol/L ดังนั้น Δ [SCN - ] = + x mol/L และ Δ [[FeSCN] 2+ ] = - x mol/L ซึ่งนำ�ไปคำ�นวณความเข้มข้นที่สมดุลได้ดังตาราง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 163
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4