คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

7. ครูใช้คำ�ถามว่า การเปลี่ยนแปลงความดันของแก๊ส โดยการเพิ่มหรือลดปริมาตร มีผลต่อ ความเข้มข้นของแก๊สและสมดุลหรือไม่ อย่างไร จากนั้นครูอธิบายการรบกวนสมดุลของแก๊สไนโตรเจน ไดออกไซด์กับแก๊สไดไนโตรเจนเตตรอกไซด์โดยการเปลี่ยนแปลงความดัน ตามรายละเอียดใน หนังสือเรียน 8. ครูให้ความรู้ว่า ปฏิกิริยาเคมีที่มีสารอยู่ในสถานะแก๊ส ถ้าผลรวมของเลขสัมประสิทธิ์ของ สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ในสถานะแก๊สเท่ากัน การเปลี่ยนแปลงความดันจะไม่มีผลต่อสมดุล แล้ว ยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีประกอบการอธิบาย จากนั้นอธิบายเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงความดัน ไม่มีผลกับความเข้มข้นของสารที่มีสถานะเป็นของแข็งและของเหลว เนื่องจากของแข็งและของเหลว มีความหนาแน่นคงที่ 9. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและคำ�ถามชวนคิด ตรวจสอบความเข้าใจ 1. ปฏิกิริยาเคมี 2NO 2 (g) N 2 O 4 (g) ที่ 25 องศาเซลเซียส ณ สมดุลมีแก๊สไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NO 2 ) 0.100 โมลต่อลิตร และแก๊สไดไนโตรเจนเตตรอกไซด์ (N 2 O 4 ) 0.250 โมล ต่อลิตร ถ้าลดความดันโดยการเพิ่มปริมาตรของภาชนะที่บรรจุเป็น 2 เท่า ความเข้มข้นของ แก๊สแต่ละชนิดที่สมดุลใหม่มีค่าเท่าใด คำ�นวณค่าคงที่สมดุลก่อนลดความดัน ดังนี้ี้ K = [N 2 O 4 ] [NO 2 ] 2 = 0.250 (0.100) 2 = 25.0 คำ�นวณความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดที่สมดุลใหม่ ดังนี้ี้ เมื่อลดความดันโดยการเพิ่มปริมาตรเป็น 2 เท่า จะทำ�ให้ความเข้มข้นของ NO 2 และ N 2 O 4 ลดลง 2 เท่า ระบบจึงปรับตัวไปทิศทางที่ทำ�ให้ NO 2 เพิ่มขึ้น จึงกำ�หนดให้ Δ [NO 2 ] = +2 x mol/L ดังนั้น Δ [N 2 O 4 ] = - x mol/L นำ�ไปคำ�นวณความเข้มข้นที่สมดุล ได้ดังตาราง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 165

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4