คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

ความเข้มข้น (mol/L) 2NO 2 (g) N 2 O 4 (g) สมดุลเดิม 0.100 0.250 เพิ่มปริมาตร 2 เท่า 0.0500 0.125 เปลี่ยนไป +2 x -x สมดุลใหม่ 0.0500 + 2 x 0.125 – x เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล จึงแทนค่าได้ดังนี้ K = [N 2 O 4 ] [NO 2 ] 2 25.0 = (0.125 – x ) (0.0500 + 2 x ) 2 100 x 2 + 6 x – 0.0625 = 0 x = -0.0691 หรือ 0.00905 เมื่อแทนค่า x เท่ากับ -0.0691 จะได้ [NO 2 ] มีค่าเป็นลบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น x จึงมีค่า เท่ากับ 0.00905 นั่นคือ ที่สมดุลใหม่ มี [NO 2 ] = 0.0500 mol/L + 2(0.00905 mol/L) = 0.0681 mol/L [N 2 O 4 ] = 0.125 mol/L – 0.00905 mol/L = 0.116 mol/L ดังนั้น ที่สมดุลใหม่ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์มีความเข้มข้น 0.0618 โมลต่อลิตร และแก๊สไดไนโตรเจนเตตรอกไซด์มีความเข้มข้น 0.116 โมลต่อลิตร 2. ปฏิกิริยาเคมี CaCO 3 (s) CaO(s) + CO 2 (g) ถ้าเพิ่มความดันของระบบโดยการลด ปริมาตรที่สมดุลใหม่ สารแต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเพิ่มความดันโดยการลดปริมาตร ทำ�ให้ความเข้มข้นของ CO 2 เพิ่มขึ้น ระบบจะ ปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ไปในทิศทางที่มีจำ�นวนโมลของแก๊สน้อยกว่า หรือปรับตัวในทิศทาง ที่เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ กล่าวคือ CO 2 ทำ�ปฏิกิริยากับ CaO ทำ�ให้ปริมาณของ CaCO 3 เพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณของ CO 2 และ CaO ลดลง อย่างไรก็ตามที่สมดุลใหม่แม้ปริมาณของ CO 2 ลดลง แต่ปริมาตรของระบบก็ลดลงด้วย ซึ่งมีผลให้ความเข้มข้นของ CO 2 ที่สมดุลใหม่ เท่ากับความเข้มข้นของ CO 2 ที่สมดุลเดิม ซึ่งสอดคล้องกับค่าคงที่สมดุล ( K = [CO 2 ]) ซึ่งมี ค่าไม่เปลี่ยนแปลง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 166

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4