คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู 1. HNO 3 มีฤทธิ์กัดกร่อน และ NO 2 มีอันตราย จึงควรสวมถุงมือ ผ้าปิดปากและแว่นตานิรภัย รวมทั้งทำ�การทดลองในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือในตู้ดูดควัน 2. NO 2 ละลายน้ำ�ได้ ดังนั้นจึงควรใช้หลอดทดลองและจุกยางที่แห้ง 3. เมื่อทำ�การทดลองเสร็จแล้ว ให้กำ�จัด NO 2 โดยเปิดจุกยางแล้วรีบเติมน้ำ�ลงไป ประมาณครึ่งหลอด แล้วรีบปิดหลอดทดลองด้วยจุกยางทันที รอจนกระทั่ง NO 2 ละลายน้ำ�หมด ซึ่งสังเกตได้จากแก๊สสีน้ำ�ตาลแดงจางหายไป ตัวอย่างผลการทดลอง แก๊สที่เป็นสมดุลของ NO 2 กับ N 2 O 4 ในหลอดทดลองมีสีน้ำ�ตาลแดง ผลการทดลองดังรูปต่อไปนี้ อภิปรายผลการทดลอง สมดุลของแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ) กับแก๊สไดไนโตรเจนเตตรอกไซด์ (N 2 O 4 ) เป็นดังสมการเคมี 2NO 2 (g) N 2 O 4 (g) การทดลอง สิ่งที่สังเกตเห็น เริ่มต้น แก๊สมีสีน้ำ�ตาลแดง จุ่มในน้ำ�ร้อน แก๊สมีสีน้ำ�ตาลแดงเข้มขึ้นแล้วคงที่ จุ่มในน้ำ�แข็ง แก๊สมีสีน้ำ�ตาลแดงจางลงแล้วคงที่ อุณหภูมิสูง อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิต่ำ� สีน้ำ�ตาลแดง ไม่มีสี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 169
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4