คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
ที่อุณหภูมิห้องจะสังเกตเห็นสีน้ำ�ตาลแดงในหลอดทดลอง ซึ่งเป็นสีของแก๊ส NO 2 เมื่อ นำ�หลอดทดลองจุ่มในน้ำ�ร้อนพบว่า สีน้ำ�ตาลแดงเข้มขึ้นแล้วคงที่ แสดงว่าแก๊ส NO 2 มี ความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเพิ่มอุณหภูมิทำ�ให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับมากขึ้น จนปรับตัว เข้าสู่สมดุลใหม่ เมื่อนำ�หลอดทดลองจุ่มในน้ำ�แข็งพบว่า สีน้ำ�ตาลแดงจางลงแล้วคงที่ แสดงว่าแก๊ส NO 2 มีความเข้มข้นลดลง ดังนั้นการลดอุณหภูมิทำ�ให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้ามากขึ้น จน ปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ สรุปผลการทดลอง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระบบที่อยู่ในสมดุล ทำ�ให้ระบบมีการเปลี่ยนแปลง ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่่ ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู การเตรียมแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ โดยใช้ทองแดงทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับกรดไนทริกเข้มข้น เขียนสมการเคมีได้ดังนี้ Cu(s) + 4HNO 3 (aq) Cu(NO 3 ) 2 (aq) + 2H 2 O(l) + 2NO 2 (g) 11. ครูอธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีผลต่อสมดุลและค่าคงที่สมดุล โดยยกตัวอย่าง ปฏิกิริยาเคมีระหว่าง [Co(H 2 O) 6 ] 2+ และ Cl - ซึ่งมีปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน และใช้ รูป 9.6 ประกอบการอธิบาย จากนั้นครูอธิบายเกี่ยวกับการรบกวนสมดุลของระบบที่มีปฏิกิริยา ไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน โดยการเพิ่มและลดอุณหภูมิ ซึ่งระบบมีการปรับตัวไปในทิศทาง ตรงกันข้ามกับปฏิกิริยาดูดพลังงาน 12. ครูใช้คำ�ถามว่า กิจกรรม 9.5 ซึ่งเป็นสมดุลของปฏิกิริยา 2NO 2 (g) N 2 O 4 (g) มีปฏิกิริยา ไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือคายพลังงาน ซึ่งควรตอบได้ว่า เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน 13. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 170
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4