คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
14. ครูให้ความรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มีผลต่อค่าคงที่สมดุลของระบบ ดังนั้นในการ แสดงค่าคงที่สมดุลใด ๆ จึงต้องระบุอุณหภูมิด้วย 15. ครูอธิบายเกี่ยวกับหลักของเลอชาเตอลิเอ แล้วนำ�ผลการทดลองของกิจกรรม 9.4 และ 9.5 มาอภิปรายร่วมกันอีกครั้ง เพื่อเชื่อมโยงว่าผลการทดลองที่สังเกตได้นั้นสอดคล้องกับหลักของ เลอชาเตอลิเอ 16. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.3 เพื่อทบทวนความรู้ ตรวจสอบความเข้าใจ จากข้อมูลความเข้มข้นที่สมดุลของสารในปฏิกิริยาที่อุณหภูมิต่าง ๆ ในตาราง จงคำ�นวณ ค่าคงที่สมดุลและระบุว่าปฏิกิริยานี้มีปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือ คายพลังงาน 1. ปฏิกิริยา N 2 O 4 (g) 2NO 2 (g) ปฏิกิริยาไปข้างหน้าของปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ค่าคงที่สมดุลมีค่าเพิ่มขึ้น 2. ปฏิกิริยา N 2 (g) + 3H 2 (g) 2NH 3 (g) ปฏิกิริยาไปข้างหน้าของปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ค่าคงที่สมดุลมีค่าลดลง อุณหภูมิ (K) ความเข้มข้น (mol/L) ค่าคงที่สมดุล N 2 O 4 NO 2 298 0.90 0.19 4.0 × 10 -2 400 0.55 0.89 1.4 500 0.088 1.9 41 อุณหภูมิ (K) ความเข้มข้น (mol/L) ค่าคงที่สมดุล H 2 N 2 NH 3 298 0.014 0.0048 2.1 3.3 × 10 8 400 0.13 0.042 1.9 3.9 × 10 4 500 0.47 0.16 1.7 1.7 × 10 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 171
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4