คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
4. ถ้ารบกวนสมดุลของปฏิกิริยาด้วยวิธีต่อไปนี้ จะทำ�ให้ความเข้มข้นของสารเกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีผลต่อค่าคงที่สมดุลอย่างไร 4.1 C 2 H 6 (g) H 2 (g) + C 2 H 4 (g) เติม H 2 (g) การเติมแก๊ส H 2 ลงในระบบ เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของแก๊ส H 2 ระบบจะปรับตัว ไปในทิศทางที่ลดความเข้มข้นของ H 2 โดยเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ทำ�ให้ความเข้มข้น ของ C 2 H 6 เพิ่มขึ้น ส่วนความเข้มข้นของ C 2 H 4 มีค่าลดลง แต่ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล 4.2 2NO 2 (g) 2NO(g) + O 2 (g) เติม NO 2 (g) การเติมแก๊ส NO 2 ลงในระบบ เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของ NO 2 ระบบจะปรับตัว ไปในทิศทางที่ลดความเข้มข้นของ NO 2 โดยเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ทำ�ให้ความเข้มข้น ของ NO และ O 2 เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล 4.3 CO(g) + 3H 2 (g) CH 4 (g) + H 2 O(g) เพิ่มความดัน เมื่อเพิ่มความดัน ระบบจะปรับตัวเพื่อลดความดันโดยเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า เนื่องจาก ผลรวมของเลขสัมประสิทธิ์ของแก๊สที่เป็นผลิตภัณฑ์น้อยกว่าของสารตั้งต้น ทำ�ให้ ความเข้มข้นของ CO และ H 2 ลดลง ส่วนความเข้มข้นของ CH 4 และ H 2 O เพิ่มขึ้น แต่ ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล 4.4 CO 2 (g) + 2SO 3 (g) CS 2 (g) + 4O 2 (g) + พลังงาน ลดอุณหภูมิ เนื่องจากระบบนี้เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน เมื่อลดอุณหภูมิ ระบบจะปรับตัวไปทาง ปฏิกิริยาไปข้างหน้า ทำ�ให้ความเข้มข้นของ CO 2 และ SO 3 ลดลง ส่วนความเข้มข้นของ CS 2 และ O 2 เพิ่มขึ้น ส่วนค่าคงที่สมดุลมีค่าเพิ่มขึ้น 4.5 PbSO 4 (s) + H + (aq) Pb 2+ (aq) + HSO 4 - (aq) เติม Pb(NO 3 ) 2 (s) Pb(NO 3 ) 2 ที่เติมลงไปประกอบด้วย Pb 2+ และ NO 3 - จึงเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของ Pb 2+ ระบบจะปรับตัวเพื่อลดความเข้มข้นของ Pb 2+ โดยเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ทำ�ให้ ความเข้มข้นของ H + เพิ่มขึ้น ส่วนความเข้มข้นของ HSO 4 - จะลดลง แต่ไม่มีผลต่อ ค่าคงที่สมดุล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 174
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4