คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

4.6 PbCl 2 (s) Pb 2+ (aq) + 2Cl - (aq) เติม AgNO 3 (s) AgNO 3 ที่เติมลงไปประกอบด้วย Ag + และ NO 3 - ซึ่ง Ag + จะทำ�ปฏิกิริยากับ Cl - เกิด เป็นตะกอนสีขาวของ AgCl ทำ�ให้ความเข้มข้นของ Cl - ลดลง ระบบจึงปรับตัวเพื่อ เพิ่มความเข้มข้นของ Cl - โดยเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า จึงมีความเข้มข้นของ Pb 2+ เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล 4.7 Fe 3+ (aq) + 3OH - (aq) Fe(OH) 3 (s) เติม HCl(aq) HCl ที่เติมลงไปประกอบด้วย H + และ Cl - ซึ่ง H + จะทำ�ปฏิกิริยากับ OH - ทำ�ให้ ความเข้มข้นของ OH - ลดลง ระบบจะปรับตัวเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของ OH - โดยเกิด ปฏิกิริยาย้อนกลับ ทำ�ให้ความเข้มข้นของ Fe 3+ เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล 5. ปฏิกิริยาเคมี PCl 3 (g) + Cl 2 (g) PCl 5 (g) ที่ 25 องศาเซลเซียส ในภาชนะขนาด 2.00 ลิตร ที่สมดุลมีแก๊สฟอสฟอรัสไตรออกไซด์ (PCl 3 ) และแก๊สคลอรีน (Cl 2 ) อย่างละ 0.200 โมล และแก๊สฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ (PCl 5 ) 2.60 โมล ถ้าลดปริมาตรของ ภาชนะที่บรรจุเหลือ 0.500 ลิตร ความเข้มข้นของแก๊สแต่ละชนิดที่สมดุลใหม่มีค่าเท่าใด คำ�นวณความเข้มข้นของแก๊สแต่ละชนิดที่สมดุลเดิม [PCl 3 ] = [Cl 2 ] = 0.200 mol 2.00 L = 0.100 mol/L และ [PCl 5 ] = 2.60 mol 2.00 L = 1.30 mol/L คำ�นวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา K = [PCl 5 ] [PCl 3 ][Cl 2 ] = 1.30 (0.100)(0.100) = 130 คำ�นวณความเข้มข้นของแก๊สแต่ละชนิดที่สมดุลใหม่ การลดปริมาตรของภาชนะจาก 2.00 L เป็น 0.500 L ทำ�ให้ความเข้มข้นของแก๊ส แต่ละชนิดเพิ่มขึ้นและทำ�ให้ความดันเพิ่มขึ้น ระบบจึงปรับตัวเพื่อลดความดันโดยเกิด ปฏิกิริยาไปข้างหน้า ส่งผลให้ PCl 5 เพิ่มขึ้น จึงกำ�หนดให้ Δ [PCl 5 ] = + x mol/L ดังนั้น Δ [PCl 3 ] = Δ [Cl 2 ] = - x mol/L นำ�ไปคำ�นวณความเข้มข้นที่สมดุลได้ดังตาราง H 2 O สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 175

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4