คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
สาระสำ�คัญ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ และจำ�นวนโมลของแก๊ส อธิบายได้ด้วย กฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์–ลูสแซก และกฎของอาโวกาโดร ความสัมพันธ์เหล่านี้นำ�ไปสู่ กฎรวมแก๊สและกฎแก๊สอุดมคติ ซึ่งสามารถอธิบายในระดับอนุภาคได้ด้วยทฤษฎีจลน์ของแก๊ส เมื่อนำ�แก๊สตั้งแต่ 2 ชนิดที่ไม่ทำ�ปฏิกิริยากันมาผสมกัน ความดันของแก๊สผสมเท่ากับผลรวม ของความดันย่อยของแก๊สแต่ละชนิดตามกฎความดันย่อยของดอลตัน โดยความดันย่อยของแก๊สแต่ละ ชนิดแปรผันตามเศษส่วนโมลของแก๊สที่มีอยู่ในแก๊สผสม แก๊สสามารถแพร่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้ เนื่องจากโมเลกุลของแก๊สมีพลังงานจลน์ และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในทุกทิศทาง โดยอัตราการแพร่ของแก๊สแปรผกผันกับรากที่สองของ มวลต่อโมลของแก๊ส ตามกฎการแพร่ผ่านของเกรแฮม กฎต่าง ๆ ของแก๊สสามารถนำ�ไปใช้อธิบายสมบัติและปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแก๊ส ตลอดจน ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วันและในอุตสาหกรรม บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 18 ชั่วโมง 7.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ 9 ชั่วโมง และจำ�นวนโมลของแก๊ส 7.2 กฎแก๊สอุดมคติ และความดันย่อย 4 ชั่วโมง 7.3 ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส 3 ชั่วโมง 7.4 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส 2 ชั่วโมง สถานะของสาร ความดัน เศษส่วนโมล ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล และปริมาตรของ แก๊สที่ STP การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี เวลาที่ใช้ ความรู้ก่อนเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 5
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4