คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

9. ปฏิกิริยา H 2 (g) + l 2 (g) 2HI(g) ค่าคงที่สมดุลที่อุณหภูมิต่าง ๆ เป็นดังนี้ สีของแก๊สผสมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใด เมื่อมีการรบกวนระบบด้วยวิธี ต่อไปนี้ 9.1 เพิ่มอุณหภูมิให้แก่ระบบ แก๊สมีสีม่วงเข้มขึ้น เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นค่าคงที่สมดุลมีค่าลดลง แสดงว่า ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ดังนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ระบบ ระบบจะปรับ ตัวโดยเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเพิ่มขึ้น ทำ�ให้เกิด I 2 ซึ่งมีสีม่วงเพิ่มขึ้น 9.2 เพิ่มความดัน ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากผลรวมของเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีของสารตั้งต้นและ ผลิตภัณฑ์ที่มีสถานะแก๊สมีค่าเท่ากัน การเพิ่มความดันจึงไม่มีผลต่อสมดุล 10. ปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊ส X 2 และแก๊ส Y 2 เขียนสมการเคมีได้ดังนี้ X 2 (g) + Y 2 (g) 2XY(g) Δ E = +250 kJ/mol จงเปรียบเทียบค่าคงที่สมดุลของการทดลองต่อไปนี้ พร้อมอธิบายเหตุผล การทดลองที่ 1 ที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน ผสม X 2 และ Y 2 อย่างละ 1.0 โมล ในภาชนะปิด 2 ลิตร การทดลองที่ 2 ที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน ผสม X 2 และ Y 2 อย่างละ 2.0 โมล ในภาชนะปิด 2 ลิตร การทดลองที่ 3 ที่อุณหภูมิ 700 เคลวิน ผสม X 2 และ Y 2 อย่างละ 1.0 โมล ในภาชนะปิด 2 ลิตร การทดลองที่ 1 และ 2 มีค่าคงที่สมดุลเท่ากัน เนื่องจากทำ�การทดลองที่อุณหภูมิ เดียวกันส่วนการทดลองที่ 3 มีค่าคงที่สมดุลมากกว่าการทดลองที่ 2 และ 1 เนื่องจากเป็น ปฏิกิริยาดูดพลังงาน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ ค่าคงที่สมดุลจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น K การทดลองที่ 1 = K การทดลองที่ 2 < K การทดลองที่ 3 อุณหภูมิ (K) ค่าคงที่สมดุล 500 160 700 54 ไม่มีสี สีม่วง ไม่มีสี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 195

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4