คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
12.1 ที่เวลา A B และ C มีการรบกวนระบบอย่างไร ที่เวลา A รบกวนระบบโดยการลดปริมาตรของภาชนะหรือเพิ่มความดัน สังเกตได้ จากความเข้มข้นของสารทุกชนิดเพิ่มขึ้นเท่า ๆ กัน ที่เวลา B รบกวนระบบด้วยการเพิ่มความเข้มข้นของ Cl 2 สังเกตได้จากความเข้มข้น ของ Cl 2 เพิ่มขึ้นทันที แล้วค่อย ๆ ลดลงเมื่อปรับเข้าสู่สมดุล ที่เวลา C รบกวนระบบด้วยการลดอุณหภูมิ สังเกตได้จากความเข้มข้นของสารตั้งต้น ค่อย ๆ ลดลงในขณะที่ผลิตภัณฑ์ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปรับ สมดุลของปฏิกิริยาคายพลังงาน 12.2 การรบกวนระบบที่ช่วงเวลาใดทำ�ให้ค่าคงที่สมดุลมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเหตุใด การรบกวนระบบที่เวลา C จะทำ�ให้ค่าคงที่สมดุลมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก เป็นการเปลี่ยนอุณหภูมิ ส่วนการรบกวนระบบที่เวลาอื่น ๆ ค่าคงที่สมดุลมีค่าเท่าเดิม 13. ยูเรีย (NH 2 CONH 2 ) เป็นสารสำ�คัญที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย ซึ่งผลิตได้จากแก๊สแอมโมเนีย (NH 3 ) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) ดังสมการเคมี 2NH 3 (g) + CO 2 (g) NH 2 CONH 2 (s) + H 2 O(g) + 135.7 kJ กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมใช้อัตราส่วน NH 3 : CO 2 เท่ากับ 3:1 ทำ�ปฏิกิริยาที่ ความดันสูงและอุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส และกำ�จัดไอน้ำ�ที่เกิดขึ้นด้วยตัวดูดซับ เหลือเพียงยูเรียซึ่งเป็นของแข็ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 197
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4