คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

6. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 7. กระบอกตวง ขนาด 50 mL 8. หลอดหยด 9. ปากกาเขียนป้าย 1 ใบ (ใช้ร่วมกัน) 1 อัน (ใช้ร่วมกัน) 1 อัน (ใช้ร่วมกัน) 1 ด้าม การเตรียมล่วงหน้า เตรียม HCl 0.5 mol/L ปริมาตร 1,500 mL โดยตรง HCl 6.0 mol/L ปริมาตร 125 mL ลงในน้ำ�กลั่นประมาณ 700 mL แล้วเติมน้ำ�กลั่นให้ได้ปริมาตร 1,500 mL (สารละลาย ที่เตรียมสามารถใช้ได้กับการทดลองของนักเรียนประมาณ 10 กลุ่ม) ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู HCl มีฤทธิ์กัดกร่อน ควรให้นักเรียนสวมถุงมือระหว่างทำ�การทดลอง ตัวอย่างผลการทดลอง เมื่อผสม NaHCO 3 กับ HCl มีฟองแก๊สเกิดขึ้น ทำ�ให้ลูกโป่งมีปริมาตรเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยลูกโป่งหมายเลข 3 มีปริมาตรสุดท้ายมากกว่าหมายเลข 2 และ 1 ตามลำ�ดับ อภิปรายผลการทดลอง เมื่อผสม NaHCO 3 กับ HCl มีแก๊ส CO 2 เกิดขึ้น ดังสมการเคมี HCl(aq) + NaHCO 3 (s) NaCl(aq) + H 2 O(l) + CO 2 (g) เนื่องจากมวลของ NaHCO 3 ซึ่งเป็นสารกำ�หนดปริมาณของปฏิกิริยานี้ ใช้ในปริมาณที่ แตกต่างกัน โดยลูกโป่งหมายเลข 3 ใช้มวลมากกว่าหมายเลข 2 และ 1 ตามลำ�ดับ ดังนั้น จำ�นวนโมลของ CO 2 ที่เกิดขึ้นในลูกโป่งหมายเลข 3 จึงมากกว่าหมายเลข 2 และ 1 ตามลำ�ดับ และจากผลการทดลองที่พบว่า ลูกโป่งหมายเลข 3 มีปริมาตรสุดท้ายมากกว่าหมายเลข 2 และ 1 ตามลำ�ดับ แสดงว่า ปริมาตรแก๊ส CO 2 ที่เกิดขึ้นในลูกโป่งหมายเลข 3 มากกว่าหมายเลข 2 และ 1 ตามลำ�ดับ ดังนั้นปริมาตรแก๊สเพิ่มขึ้นตามจำ�นวนโมลของแก๊ส ข้อมูลเพิ่มเติมสำ�หรับครู การคำ�นวณจำ�นวนโมลของแก๊ส CO 2 ในลูกโป่งแต่ละหมายเลข ลูกโป่งหมายเลข 1 จำ�นวนโมล HCl = 0.50 mol 1000 mL × 50.0 mL = 0.025 mol จำ�นวนโมล NaHCO 3 = 0.10 g 84.01 g/mol = 0.0012 mol สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 21

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4