คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

7.2.2 ความดันย่อยของแก๊ส จุดประสงค์การเรียนรู้ คำ�นวณความดันย่อยหรือจำ�นวนโมลของแก๊สในแก๊สผสม แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูยกตัวอย่างแก๊สผสมในธรรมชาติ เช่น อากาศ ซึ่งประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจนและ แก๊สออกซิเจนเป็นหลัก จากนั้นใช้คำ�ถามว่า ความดันของแก๊สไนโตรเจนและแก๊สออกซิเจนเท่ากับ ความดันบรรยากาศหรือไม่ อย่างไร 2. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 7.6 แล้วให้อภิปรายร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ความดันของ แก๊สผสมเท่ากับผลรวมของความดันย่อยของแก๊สที่เป็นองค์ประกอบตามกฎความดันย่อยของ ดอลตัน พร้อมแสดงสมการกฎความดันย่อยของแก๊ส 3. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า ความดันรวมของแก๊สผสมมีความสัมพันธ์กับจำ�นวนโมลของแก๊สที่เป็น องค์ประกอบอย่างไร จากนั้นใช้สมการกฎแก๊สอุดมคติแสดงให้เห็นว่า เมื่ออุณหภูมิและปริมาตรคงที่ ความดันของแก๊สผสมจะขึ้นอยู่กับจำ�นวนโมลรวมของแก๊สที่เป็นองค์ประกอบจากนั้นอธิบายวิธีการ คำ�นวณความดันของแก๊สผสมโดยใช้ตัวอย่าง 15 4. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า ถ้าทราบความดันบรรยากาศจะสามารถหาความดันย่อยของแก๊ส ไนโตรเจนและแก๊สออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบในอากาศได้อย่างไร 5. ครูอธิบายสมการความสัมพันธ์ระหว่างความดันของแก๊สผสม ความดันย่อย และ เศษส่วนโมลของแก๊ส จากนั้นอธิบายการคำ�นวณโดยใช้ตัวอย่าง 16 และ 17 6. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ตรวจสอบความเข้าใจ 1. ถ้าผสมแก๊สไฮโดรเจน (H 2 ) 1.00 กรัม แก๊สฮีเลียม (He) 2.60 กรัม และแก๊สอาร์กอน (Ar) 11.19 กรัม ในภาชนะขนาด 10.0 ลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จงคำ�นวณความดันรวม ของแก๊สผสม คํานวณจํานวนโมลรวม จํานวนโมลของ H 2 = 1.00 g H 2 × 1 mol H 2 2.02 g H 2 = 0.495 mol สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 32

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4