คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู สารเคมีที่ใช้ในการสาธิตทั้งสองชนิด มีกลิ่นฉุนและเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ จึงไม่ควร ชุบสารในปริมาณมากเกินไป ตัวอย่างผลการทดลอง เมื่อนำ�ไม้พันสำ�ลีที่ชุบกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและสารละลายแอมโมเนียเข้มข้นไปอุดที่ ปลายทั้งสองของหลอดแก้วพร้อม ๆ กัน เมื่อเวลาผ่านไปจะเห็นวงแหวนสีขาวเกิดขึ้นภายใน หลอดแก้วใกล้ปลายหลอดแก้วทางด้านกรดไฮโดรคลอริกมากกว่าปลายด้านแอมโมเนีย อภิปรายผลการทดลอง แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์และแก๊สแอมโมเนียเป็นแก๊สไม่มีสี เมื่อมีวงแหวนสีขาวเกิดขึ้นภายใน หลอดแสดงว่าสารทั้ง 2 ชนิด ทำ�ปฏิกิริยากันได้สารใหม่ที่มีสีขาว ดังสมการเคมี HCl(g) + NH 3 (g) NH 4 Cl(s) เนื่องจากวงแหวนสีขาวที่เกิดขึ้นอยู่ใกล้กับสำ�ลีที่ชุบสารละลายกรดไฮโดรคลอริกแสดงว่า ในเวลาที่เท่ากันแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์แพร่ได้ระยะทางที่น้อยกว่าแก๊สแอมโมเนียและ เมื่อพิจารณามวลต่อโมล พบว่า มวลต่อโมลของแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์มากกว่าแก๊สแอมโมเนีย แสดงว่าแก๊สที่มีมวลต่อโมลมากกว่าจะแพร่ช้ากว่า สรุปผลการทดลอง อัตราการแพร่ของแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์มีค่าน้อยกว่าอัตราการแพร่ของแก๊สแอมโมเนีย เนื่องจากแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์มีมวลต่อโมลมากกว่า ดังนั้น แก๊สที่มีมวลต่อโมลมากกว่าจะ แพร่ได้ช้ากว่าแก๊สที่มีมวลต่อโมลน้อยกว่า 4. ครูใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ที่กล่าวว่า ที่อุณหภูมิเดียวกัน แก๊สทุกชนิดมีพลังงานจลน์เฉลี่ย เท่ากัน และสมการ E k = 1 2 mv 2 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วในการเคลื่อนที่กับมวลของ แก๊ส 5. ครูให้นักเรียนศึกษาการทดลองของทอมัส เกรแฮม จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการแพร่ผ่านและมวลต่อโมลของแก๊สตามกฎการแพร่ผ่านของ เกรแฮม รวมทั้งแสดงสมการเปรียบเทียบอัตราการแพร่ผ่านของแก๊ส 2 ชนิด ตามสมการกฎ การแพร่ผ่านของเกรแฮม ซึ่งสามารถใช้ในการประมาณอัตราการแพร่ของแก๊สได้จากนั้นใช้ ตัวอย่าง 18 อธิบายการคำ�นวณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 44

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4