คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

6. ครูอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการแพร่และความหนาแน่นตามรายละเอียดใน หนังสือเรียนและอธิบายการคำ�นวณโดยใช้ตัวอย่าง 19 7. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 7.3 เพื่อทบทวนความรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล 1. ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทฤษฎีจลน์ของแก๊สกับการแพร่ของแก๊ส ความสัมพันธ์ ของอัตราการแพร่กับมวลต่อโมลของแก๊ส การคำ�นวณและเปรียบเทียบอัตราการแพร่หรือมวลต่อโมล ของแก๊สโดยใช้กฎการแพร่ผ่านของแกรแฮม จากการอภิปราย รายงานการทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ 2. ทักษะการสังเกต จากรายงานการทดลอง และการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลอง 3. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด 4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา จากการอภิปราย 5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้าง จากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปราย 6. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากการทำ�แบบฝึกหัด แบบฝึกหัด 7.3 1. ทริเทียม (T) เป็นไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจน อัตราการแพร่ของแก๊สไฮโดรเจน (H 2 ) เป็น กี่เท่าของแก๊สทริเทียม (T 2 ) กำ�หนดให้ มวลต่อโมลของทริเทียมเท่ากับ 3.02 กรัมต่อโมล คำ�นวณมวลต่อโมลของแก๊สแต่ละชนิด มวลต่อโมลของ H 2 = (1.01 × 2) = 2.02 g/mol มวลต่อโมลของ T 2 = (3.02 × 2) = 6.04 g/mol จาก r 1 r 2 = M 2 M 1 ดังนั้น r H 2 r T 2 = M T 2 M H 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 45

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4