คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
โดยปกติความดันของอากาศภายในรูหูและในท่อยูสเตเชียนจะเท่ากัน ดังนั้นแก้วหู จึงมีลักษณะตั้งตรงเนื่องจากความดันที่กระทำ�ต่อแก้วหูจากทั้งสองฝั่งเท่ากัน แต่เมื่อเดินทาง ขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็ว เช่น ขับรถขึ้นภูเขา ขึ้นลิฟต์ อยู่ในเครื่องบินขณะบินขึ้น ความดัน บรรยากาศจะลดลง ทำ�ให้ความดันในรูหูลดลงและตํ่ากว่าความดันในท่อยูสเตเชียน จึงทำ�ให้ แก้วหูโก่งงอ ซึ่งจะทำ�ให้รู้สึกเจ็บปวด และการสั่นเพื่อส่งสัญญาณเสียงจะไม่สามารถทำ�ได้ ตามปกติ จึงทำ�ให้การได้ยินลดลง ซึ่งเรียกว่า อาการหูอื้อ นั่นเอง การจำ�ลองการโก่งงอของแก้วหูเมื่อความดันบรรยากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้การหาว การเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือการกลืนนํ้าลาย จะทำ�ให้ส่วนล่างของ ท่อยูสเตเชียนเปิดออก ส่งผลให้อากาศภายในท่อถูกระบายออกสู่ภายนอกจนกระทั่ง ความดันภายในเท่ากับความดันบรรยากาศภายนอก จึงทำ�ให้แก้วหูกลับมาสู่สภาพตรงเหมือน เดิมความเจ็บปวดจึงหายไปและการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ ความดันบรรยากาศลดลง ความดัน ภายนอก ความดัน ภายนอก ความดัน ภายใน ความดัน ภายใน แก้วหู แก้วหู สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 51
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4