คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
การพ่นสารออกจากกระป๋องสเปรย์ การทำ�งานของกระป๋องสเปรย์จะใช้หลักการเคลื่อนที่ ของแก๊สจากบริเวณที่มีความดันสูงไปยังบริเวณที่มีความดัน ตํ่ากว่า โดยภายในกระป๋องสเปรย์ ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด คือ สารที่ต้องการฉีดพ่นและแก๊สที่มีความดันสูงซึ่งทำ�หน้าที่ เป็นสารผลักดัน (propellant) เมื่อกดหัวฉีดของกระป๋องสเปรย์ จะทำ�ให้แก๊สซึ่งมีความดันสูงเคลื่อนที่ออกมาสู่ภายนอก พร้อมกับพาสารที่ต้องการฉีดพ่นออกมาด้วย ส่งผลให้ความดัน ภายในกระป๋องสเปรย์ลดลง จนเมื่อความดันเท่ากับความดัน บรรยากาศจึงไม่สามารถฉีดพ่นสารออกมาได้อีก ดังนั้นจึง ไม่ควรทิ้งกระป๋องสเปรย์ที่ไม่ใช้แล้วรวมกับขยะชนิดอื่น เพราะ อาจถูกนำ�ไปเผาซึ่งจะทำ�ให้แก๊สที่ยังคงเหลืออยู่ขยายตัวและ เกิดการระเบิดได้ การตรวจสภาพอากาศชั้นบน ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักอุตุนิยมวิทยาใช้ บอลลูนในการตรวจสภาพอากาศชั้นบน โดยบรรจุแก๊สฮีเลียม หรือแก๊สไฮโดรเจนลงในบอลลูนจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2 เมตร ซึ่งติดอุปกรณ์วิทยุหยั่งอากาศพร้อมกับ ร่มชูชีพ เพื่อเก็บข้อมูลอากาศชั้นบน เมื่อปล่อยบอลลูนขึ้นไป ความดันบรรยากาศที่ลดลงเรื่อย ๆ ทำ�ให้บอลลูนขยายใหญ่ขึ้น จนถึงความสูงประมาณ 30 กิโลเมตร แก๊สจะขยายตัวมาก จนทำ�ให้บอลลูนแตก ร่มชูชีพจะกางออกเพื่อช่วยให้วิทยุ หยั่งอากาศตกลงบนพื้นโดยไม่ได้รับความเสียหาย จากนั้น นักอุตุนิยมวิทยาจะเก็บวิทยุหยั่งอากาศและนำ�ข้อมูลไป แปลผลต่อไป การพ่นสารของกระป๋องสเปรย์ บอลลูนตรวจสภาพอากาศ 3. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 011 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 52
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4