คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

P H 2 = n H 2 RT V = (0.060 mol)(0.0821 L  •  atm/mol • K)(25 + 273 K) 5.0 L = 0.29 atm คำ�นวณความดันรวมภายในภาชนะ จาก P total = P air + P H 2 แทนค่าจะได้ P total = 1.0 atm + 0.29 atm = 1.3 atm ดังนั้น ภายในภาชนะมีความดัน 1.3 บรรยากาศ 4. ภาชนะใบหนึ่งบรรจุอากาศ 1.0 ลิตร ความดัน 1.00 บรรยากาศ เมื่อเติมไอร์ออน (II) ไฮดรอกไซด์ (Fe(OH) 2 ) และนํ้า ลงในภาชนะ จะทำ�ปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน (O 2 ) ใน อากาศ ดังสมการเคมี 2Fe(OH) 2 (s) + O 2 (g) + H 2 O(l) 2Fe(OH) 3 (s) เมื่อตั้งไว้จนแก๊สออกซิเจนในภาชนะทำ�ปฏิกิริยาจนหมด ความดันภายในภาชนะเป็น เท่าใด กำ�หนดให้อากาศในภาชนะมีแก๊สออกซิเจนร้อยละ 21 โดยปริมาตร และปริมาตร ของแข็งและของเหลวน้อยมากจนไม่รบกวนปริมาตรของแก๊สในภาชนะ คำ�นวณความดันของ O 2 ในอากาศ จาก P i = X i P total ดังนั้น P O 2 = n O 2 n air P air ดังนั้น P O 2 = V O 2 V air P air จากกฎของอาโวกาโดร จำ�นวนโมลและปริมาตรของแก๊สมีความสัมพันธ์กันที่ อุณหภูมิและความดันคงที่ ดังนั้นสามารถใช้ร้อยละโดยปริมาตรในการคำ�นวณเศษส่วนโมล ของแก๊สได้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 56

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4