คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

8.1 ความหมายและการคำ�นวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความหมายและคำ�นวณอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสาร 2. ทำ�การทดลอง เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารกับเวลา และแปล ความหมายจากกราฟ 3. บอกความหมายและคำ�นวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 4. เขียนกราฟการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของสารที่ไม่ได้วัดในปฎิกิริยา ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ 1. รูปหรือตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดได้เร็วและช้าที่พบในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำ�วัน แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยแสดงรูปหรือตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดได้เร็วและช้า ที่พบในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเกิดสนิมเหล็ก การเน่าเสียของอาหาร การเผาไหม้ เชื้อเพลิง การเกิดแก๊สในถุงลมนิรภัยรถยนต์ และให้นักเรียนยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดได้เร็วและ ช้า จากนั้นใช้คำ�ถามนำ�ว่า ปฏิกิริยาเคมีอาจเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน จะทราบได้อย่างไรว่า ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้า เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสาร 2. ครูนำ�อภิปรายเกี่ยวกับการหาอัตราเร็วของรถยนต์ แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่อัตราการดำ�เนินไป ของปฏิกิริยาเคมี ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 3. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 8.1 เพื่อศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะ แมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองโดยใช้คำ�ถามท้าย การทดลอง ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ย คือ อัตราการ เปลี่ยนแปลงปริมาณของสารตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้น สุดปฏิกิริยาเท่านั้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ย คือ อัตราการ เปลี่ยนแปลงปริมาณของสารในช่วงเวลาใด ๆ ที่ กำ�หนด รวมถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ สารตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดปฏิกิริยาด้วย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 74

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4