คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

4. ครูอธิบายเกี่ยวกับการติดตามการดำ�เนินไปของปฏิกิริยาเคมีซึ่งทำ�ได้หลายวิธี แต่ในทาง ปฏิบัติจะเลือกการวัดปริมาณสารด้วยวิธีที่สะดวกที่สุด จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความ เข้าใจ ตรวจสอบความเข้าใจ ในการศึกษาการดำ�เนินไปของปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้ ควรติดตามการเปลี่ยนแปลง ปริมาณของสารใด พร้อมให้เหตุผลประกอบ 1. CH 3 COCH 3 (aq) + I 2 (aq) CH 3 COCH 2 I(aq) + HI(aq) ไม่มีสี I 2 เพราะสามารถสังเกตจากสีของสารละลายที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย 2. CaCO 3 (s) + 2HCl(aq) CO 2 (g) + CaCl 2 (aq) + H 2 O(l) CO 2 เพราะสามารถวัดปริมาตรแก๊สได้ง่าย 3. S 2 O 3 2- (aq) + 2H + (aq) S(s) + H 2 SO 3 (aq) S เพราะสามารถวัดปริมาณตะกอนได้ง่ายโดยการสังเกตเครื่องหมายที่ขีดไว้ด้านหลัง หลอดทดลองที่ให้สารทำ�ปฏิกิริยากัน 5. ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตามการดำ�เนินไปของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น • วัดความเป็นกรดเบสของสารละลายด้วย pH meter • วัดปริมาณสารมีสีในสารละลายด้วย spectrophotometer • วัดการนำ�ไฟฟ้าด้วย conductometer 6. ครูอธิบายความหมายของอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารโดยใช้ตัวอย่าง การดำ�เนินไปของปฏิกิริยาจาก A B และใช้รูป 8.1 ประกอบการอธิบาย และการคำ�นวณอัตรา การเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารทั้งที่เป็นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งชี้ประเด็นให้นักเรียน เห็นว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของสารมีค่าเป็นบวก (+) เสมอ แต่เนื่องจากอัตราการเปลี่ยนแปลง ปริมาณสารตั้งต้นมีค่าเป็นลบ (-) ดังนั้น ในสมการจึงต้องมีเครื่องหมายลบ ดังรายละเอียดในหนังสือ เรียน สีน้ำ�ตาลแดง ไม่มีสี ไม่มีสี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 78

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4