คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3
2. กำ�หนดให้ปฏิกิริยาเคมีหนึ่ง มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเท่ากับ อัตราการเปลี่ยนแปลง ปริมาณของสารตั้งต้น A เท่ากับ 3/2 เท่าของอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารตั้งต้น B เท่ากับ 2 เท่าของอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของผลิตภัณฑ์ C จงเขียนสมการเคมี และหาว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสาร B เป็นกี่เท่าของสาร C r = - Δ [A] Δ t = - 3 2 Δ [B] Δ t = 2 Δ [C] Δ t จากความสัมพันธ์ของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถเขียนสมการเคมีได้ดังนี้ A + 2 3 B 1 2 C หรือ 6A + 4B 3C คำ�นวณอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสาร B ต่อสาร C - 3 2 Δ [B] Δ t = 2 Δ [C] Δ t ดังนั้น อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสาร B เป็น 4 3 เท่าของสาร C 13. ครูอธิบายความหมายของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ย โดยเน้นให้เห็นว่าเป็นอัตราการ เปลี่ยนแปลงปริมาณของสารจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุดในช่วงเวลาที่กำ�หนด ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุดปฏิกิริยาเคมี หรือในแต่ละช่วงเวลาก็ได้ จากนั้นอธิบายเกี่ยวกับการคำ�นวณอัตราการ เกิดปฏิกิริยาเคมี ณ ขณะหนึ่ง โดยใช้รูป 8.2 ประกอบการอธิบาย โดยชี้ประเด็นให้นักเรียนเห็นว่าใน การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา เคมี ณ ขณะหนึ่ง จะหาจากค่าความชันของกราฟหารด้วยเลขสัมประสิทธิ์ ของสารในสมการเคมี ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมว่า การลากเส้นสัมผัสของกราฟนั้น ไม่ว่าจะลากเส้นสัมผัส ยาวเท่าใดก็จะได้ความชันเท่ากันเสมอ เนื่องจากเป็นการหาความชันของเส้นตรงเส้นเดียวกัน ทั้งนี้ นักเรียนอาจหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ณ ขณะหนึ่ง ได้แตกต่างกันเนื่องจากลากเส้นสัมผัสกราฟ ที่มีความชันแตกต่างกัน 14. ครูแสดงตัวอย่างการคำ�นวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ณ ขณะหนึ่ง จากการหาอัตราการ เกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ย โดยเน้นประเด็นให้เห็นว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ยในช่วงเวลาแคบ ๆ มีค่าใกล้เคียงกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ณ ขณะหนึ่ง ที่จุดกึ่งกลางของช่วงเวลานั้น จากนั้นให้ นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 82
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4