คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

99 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19. ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุ 20 ธาตุในตาราง 2.10 และ กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานไอออไนเซชันกับลำ�ดับที่ของพลังงานไอออไนเซชัน จาก นั้นตั้งคำ�ถามว่า - ค่า IE 1 ของแต่ละธาตุต่างกันอย่างไร ควรได้คำ�ตอบว่า ต่างกันโดยค่า IE 1 ของธาตุใน คาบเดียวกันจะเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม - ธาตุเดียวกันจะมีลำ�ดับ IE เป็นอย่างไร ควรได้คำ�ตอบว่าเพิ่มขึ้นตามลำ�ดับ เช่น IE 3 > IE 2 > IE 1 - ถ้าจัดกลุ่มค่า IE ของธาตุ F เป็นกลุ่มจะจัดได้อย่างไร ควรได้คำ�ตอบว่าจัดได้ 2 กลุ่ม ตาม ค่า IE ที่ใกล้เคียงกัน คือ IE 1 – IE 7 และ IE 8 – IE 9 ดังตาราง 2.10 20. ครูให้นักเรียนตรวจสอบผลการจัดกลุ่ม IE ของธาตุ F โดยใช้กราฟจากรูป 2.25 ข) ซึ่งพบ ว่าแบ่งเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ กลุ่มที่ประกอบด้วยจุด 7 จุดซึ่งมีค่าใกล้เคียงกันและอยู่บริเวณด้านล่าง และอีกกลุ่มมี 2 จุดและอยู่บริเวณด้านบนของเส้นกราฟ 21. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและช่วยกันเฉลยคำ�ตอบ โดยครูคอยชี้แนะ เพราะเหตุใด IE 4 กับ IE 5 ของธาตุคาร์บอนจึงมีค่าแตกต่างกันมาก เพราะคาร์บอนอยู่หมู่ IVA และมี 4 เวเลนซ์อิเล็กตรอน การดึงอิเล็กตรอนทั้ง 4 ออกจากอะตอมจึงทำ�ได้ง่ายเพราะอยู่ระดับพลังงานนอกสุด ส่วนอิเล็กตรอนลำ�ดับที่ 5 และ 6 อยู่ในระดับพลังงานชั้นถัดเข้าไปซึ่งใกล้กับนิวเคลียสทำ�ให้มีแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียส กับอิเล็กตรอนมากกว่า ดังนั้นการที่จะทำ�ให้อิเล็กตรอนเหล่านั้นหลุดออกมาจึงต้องใช้ พลังงานมากกว่า 4 ลำ�ดับแรกอย่างมาก ชวนคิด

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4