คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

100 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีเล่ม 1 22. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อทำ�นายแนวโน้มของค่าพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของธาตุ ตามคาบและตามหมู่ รวมทั้งเหตุผลสนับสนุน แล้วเปรียบเทียบผลการอภิปรายกับรูป 2.26 จากนั้นศึกษาเหตุผลคำ�อธิบายใต้ภาพเพื่อตรวจสอบสิ่งที่อภิปราย และย้อนกลับไปตอบคำ�ถามเกี่ยว กับแนวโน้มค่า IE 1 ตามขนาดอะตอมที่ได้ทำ�นายไว้ และควรสรุปได้ว่าค่า IE 1 มีความสัมพันธ์กับ ขนาดอะตอมโดยค่า IE 1 จะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดอะตอมลดลง 23. ครูทบทวนว่าค่าพลังงาน IE 1 เป็นพลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำ�ให้อิเล็กตรอนหลุดออกจาก อะตอมในสถานะแก๊สเกิดเป็นไอออนบวก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน จากนั้นถาม คำ�ถามว่าถ้าอะตอมของธาตุมีการรับอิเล็กตรอนจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างไรเพื่อนำ�เข้าสู่ หัวข้อสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน 24. ครูทบทวนเรื่องการเกิดไอออน จากนั้นตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ใน การเกิดเป็นไอออนของธาตุ ธาตุที่รับอิเล็กตรอนได้ดีจะอยู่ส่วนใดของตารางธาตุ และการรับอิเล็กตรอน เป็นการดูดหรือคายพลังงาน ควรได้คำ�ตอบว่าอยู่ทางด้านขวาและเป็นการคายพลังงาน 25. ครูให้ความรู้เรื่องสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนว่า เป็นพลังงานที่คายออกเมื่ออะตอมใน สถานะแก๊สได้รับอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน อะตอมที่สามารถรับอิเล็กตรอนได้ดีจะมีสัมพรรคภาพ อิเล็กตรอนสูงกว่าอะตอมที่รับอิเล็กตรอนได้ยาก​ ครูอาจให้นักเรียนเปรียบเทียบสัมพรรคภาพ อิเล็กตรอนกับพลังงานไอออไนเซชันของธาตุเหมือนและต่างกันอย่างไรคำ�ตอบคือทั้งสองค่าใช้อธิบาย อะตอมในสถานะแก๊สเหมือนกัน แต่ที่ต่างกันคือสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นการคายพลังงานออกมา ส่วนพลังงานไอออไนเซชันเป็นการดูดพลังงาน 26. ให้นักเรียนพิจารณารูป 2.27 เพื่อศึกษาแนวโน้มของค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของ ธาตุในตารางธาตุ แล้วร่วมกันสรุปสาระสำ�คัญ โดยอาจสรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาธาตุตามคาบ ธาตุโลหะ หมู่ IA IIA และ IIIA มีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนยากโดยเฉพาะธาตุในหมู่ IIA จะรับอิเล็กตรอน ยากที่สุด ส่วนธาตุในหมู่ IVA VA VIA และ VIIA มีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนสูงโดยเฉพาะหมู่ นักเรียนคิดว่าค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุใช้เป็นข้อมูลสำ�หรับการจัดกลุ่ม อิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสของแต่ละธาตุได้หรือไม่ อย่างไร ได้ โดยพิจารณาจากค่า IE ที่ใกล้เคียงกันของธาตุนั้น ๆ เช่น K สามารถจัดกลุ่มตามค่า IE ที่ใกล้เคียงกันได้เป็น 4 กลุ่ม โดยเรียงจากค่า IE น้อยไปมาก กลุ่มที่ 1 คือ IE 1 กลุ่มที่ 2 คือ IE 2 - IE 9 กลุ่มที่ 3 คือ IE 10 - IE 17 และ กลุ่มที่ 4 คือ IE 18 - IE 19 ซึ่งสัมพันธ์กับการจัดเรียงอิเล็กตรอน 2 8 8 1 ตรวจสอบความเข้าใจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4