คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

132 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีเล่ม 1 4. พิจารณาสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุสมมติต่อไปนี้ 6 A 6 B 6 C 7 D และ 8 E 4.1 ธาตุใดเป็นไอโซโทปกัน 6 A 6 B 6 C เนื่องจากมีจำ�นวนโปรตอนเท่ากันคือ 6 4.2 ธาตุใดมีจำ�นวนนิวตรอนเท่ากัน 6 B 7 D มีจำ�นวนนิวตรอนเท่ากันคือ 7 6 C 8 E มีจำ�นวนนิวตรอนเท่ากันคือ 8 5. ไอโซโทปของธาตุชนิดหนึ่งมีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของประจุในนิวเคลียสของ ไฮโดรเจนและมีเลขมวลเป็น 7 เท่าของเลขมวลไฮโดรเจน ระบุจำ�นวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของไอโซโทปของธาตุนี้ เนื่องจากในนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วย​1​ โปรตอนแต่ไม่มีนิวตรอน เลขมวลของไฮโดรเจนจึงเท่ากับ 1 และประจุในนิวเคลียสเท่ากับ +1 คำ�ถามกำ�หนดให้ธาตุชนิดนี้มีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของไฮโดรเจน จึงมี 3 โปรตอน มีเลขมวลเป็น 7 เท่า แสดงว่ามีจำ�นวนโปรตอนรวมกับนิวตรอนเท่ากับ 7 ธาตุนี้จึงมีจำ�นวนนิวตรอน = 7 – 3 = 4 ดังนั้นจำ�นวนอนุภาคในอะตอมของไอโซโทปนี้คือ 3 โปรตอน 4 นิวตรอน และ 3 อิเล็กตรอน 6. A และ B เป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน ถ้า A มีนิวตรอน = a B มีจำ�นวนนิวตรอน = b และมีเลขมวล = c ธาตุ A จะมีเลขมวลเท่าใด B มี เลขมวล = c มีนิวตรอน = b ดังนั้นจึงมีโปรตอน = c - b A และ B เป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมีโปรตอนเท่ากันซึ่ง = c - b A มี นิวตรอน = a ดังนั้นจึงมีเลขมวลเท่ากับ = c – b + a 12 12 13 14 14 16 13 14 13 14 14 16

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4