คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

136 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีเล่ม 1 ของ He จึงสูงกว่าแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของ K ดังนั้น IE 1 ของ He จึงมีค่าสูงกว่า IE 1 ของ K 13. แนวโน้มของค่า IE 1 ของธาตุ K Rb และ Cs ซึ่งมีเลขอะตอม 19 37 และ 55 ตาม ลำ�ดับ ควรเป็นอย่างไร พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ เนื่องจากจากเลขอะตอมของธาตุทั้งสาม นำ�มาเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ได้ดังนี้ K 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 1 Rb 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 3d 10 4p 6 5s 1 Cs 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 3d 10 4p 6 5s 2 4d 10 5p 6 6s 1 พบว่าธาตุทั้ง 3 อยู่ในหมู่เดียวกันคือหมู่ IA แต่อยู่ต่างคาบ โดย K อยู่คาบที่ 4 Rb อยู่คาบที่ 5 และ Cs อยู่คาบที่ 6 ซึ่งเมื่อพิจารณาขนาดอะตอมแล้วพบว่า K มีขนาดเล็กสุดจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง เวเลนซ์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสมากที่สุด ค่า IE 1 จึงมากที่สุด ส่วน Cs มีขนาดใหญ่ สุดจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสน้อยที่สุด ค่า IE 1 จึง น้อยที่สุด ดังนั้น ค่า IE 1 ของ K > Rb > Cs 14. A B C D E และ F เป็นธาตุสมมติที่อยู่ในหมู่เดียวกันเรียงลำ�ดับจากบนลงล่าง จงทำ�นายสมบัติของธาตุดังต่อไปนี้ 14.1 ธาตุใดควรมีขนาดอะตอมเล็กที่สุด ธาตุ A ควรมีขนาดอะตอมเล็กที่สุด 14.2 ธาตุใดควรมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด ธาตุ A ควรมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4